top of page

บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวของในการส่งเสริมการใช้หนังสือในระดับปฐมวัย 

         แนวทางในการส่งเสริมการใช้หนังสือในระดับปฐมวัยให้ประสบผลสำเร็จนั้น มีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับพื้นความรู้และความคิดสร้างสรรค์ของผู้ที่เกี่ยวของ การส่งเสริมการใช้หนังสือในระดับเด็กปฐมวัยนั้น ยอมเกี่ยวของกับบุคคลและหน่วยงานหลายภาคส่วน หลายระดับ หลายบทบาทหน้าที่ซึ่งแตกตางกันออกไป เป็นตนว่า บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ ครูปฐมวัย ผู้บริหารโรงเรียน ผู้นำทองถิ่น ผู้บริหารการศึกษาระดับภูมิภาค ผู้บริหารการศึกษาระดับนโยบายประเทศ รวมถึงรัฐบาล ดังรายละเอียดตอไปนี้ 

          1.   บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่  

          บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ในการส่งเสริมการใช้หนังสือของลูกมีความสำคัญที่สุดต่อนิสัยรักการอ่านของลูก เนื่องจากเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด พ่อแม่เป็นบุคคลแรกที่เด็กปฐมวัยเห็นเป็นตัวแบบในการอ่านหนังสือ พ่อแม่บางท่านอาจให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือมาก โดยเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ด้วยเชื่อว่าการเรียนรู้เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา อีกทั้งเป็นการสื่อสารให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงของพ่อแม่ ยิ่งไปกว่านั้นการอ่านหนังสือให้เด็กฟังโดยให้เด็กนั่งในตักและชี้นิ้วตามด้วยจะเป็นการเริ่มการพัฒนาความเข้าใจเรื่องกฎเกณฑ์เบื้องต้นของภาษา เป็นต้นว่า ตัวอักษรที่เห็นเป็นแถว ๆ นั้นมีความหมายบางอย่างและเกี่ยวข้องกับชีวิตของเขาด้วย เช่น ชื่อของเด็ก ชื่อพ่อแม่ ชื่อสัตว์เลี้ยงที่เขารักและสิ่งของต่าง ๆ เด็กยังได้เรียนรู้กฎเกณฑ์การอ่านจากทางซ้ายไปทางขวา สิ่งเหลานี้ยังเป็นพื้นฐานของการเขียนอีกด้วย การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนนอกจากจะเป็นการสร้างความผูกพันระหว่างผู้ปกครองและเด็กแล้ว การอ่านให้ลูกฟังทุกวันอาจจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวที่พ่อแม่สามารถทำได้เพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับความสำเร็จในโรงเรียนของเด็ก บทบาทของพ่อแม่จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้และรักการอ่านการเขียนตั้งแต่เด็ก โดยอาจสร้างบรรยากาศและเปิดโอกาสให้เด็กได้จับต้องสัมผัสและคุ้นเคยกับหนังสือ รูปภาพ และตัวอักษรถึงแม้ว่าเด็กจะยังอ่านไม่ได้ก็ตาม ให้เด็กได้เป็นเจ้าของหนังสือโดยให้เขามีส่วนร่วมในการเลือกหนังสือที่เขาอยากได้ การสร้างบรรยากาศให้หนังสือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมีความสำคัญต่อเด็กเพราะเขาจะต้องอยู่ในโลกของตัวหนังสือและภาษาเขียนตลอดไป  

          ข้อเสนอแนะจากนักวิชาการการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาระบุว่าการอ่านหนังสือกับเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องคำนึงถึงสิ่งเหลานี้ (Figo, 2015 : 1522)

          1) หาสถานที่เงียบสงบที่มีแสงเพียงพอและสิ่งรบกวนน้อย  

          2) เริ่มต้นนั่งอ่านด้วยกันเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ 

          3) อ่านตามธรรมชาติ หยุดและถามคำถาม และชวนดูรายละเอียดของรูปภาพในหนังสือ 

          4) พูดและอ่านกับลูกด้วยภาษาของเราเอง 

          5) กำหนดเวลาสำหรับการอ่านให้เป็นเรื่องปกติ 

          6) ลองสังเกตความพยายามในการอ่านของลูก เช่น พูดคำที่ไม่ได้อยู่ในหน้าหนังสือนั้น 

          7) อนุญาตให้ลูกข้ามหน้าที่กำลังอ่านหรือกลับมากลับไปยังส่วนที่สนใจ  

          8) ขอให้ผู้ใหญ่หรือคนอื่น ๆ ในครอบครัวเลือกและอ่านหนังสือ 

          9) จัดหาหนังสือไว้ให้เลือกหลาย ๆ ประเด็น  

          องค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องการอ่านของเด็กปฐมวัยที่ผู้เกี่ยวของกับเด็กพึงตระหนัก คือ เด็กจะเรียนรู้เรื่องการอ่านบนพื้นฐานของภาษาพูด เมื่อเด็กรู้ว่าภาษาเขียนมีความหมายคล้าย ๆ กับภาษาพูด เด็กจะนำความรู้เดิมจากการพูดมาเปลี่ยนเป็นการอ่าน  จากจุดนี้เองหากผู้ใหญ่สามารถทำให้การสื่อสารด้วยการอ่านมีความชัดเจนแก่เด็กโดยแสดงให้เด็กเห็นว่าการอ่าน คือ วิธีการสื่อสารอีกวิธีหนึ่งที่สามารถบอกความหมายบางอย่างได้หรือเล่าเรื่องราวในหนังสือได้ จะช่วยให้เด็กสามารถเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการพูด กับการอ่านมากขึ้น จะทำให้เด็กเริ่มอ่านโดยการขยายจากวิธีการทางภาษาที่มีอยู่เดิม ผู้ปกครองและครูปฐมวัยสามารถสอนการอ่านแก่เด็กเล็ก ๆ ด้วยการเลียนแบบวิธีการที่เด็กเรียนรู้ภาษาพูด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเด็กไม่ได้เรียนรู้การพูดจากการที่ผู้ใหญ่สอนให้ออกเสียงหรือจากการท่องคำศัพท์ แต่การพูดของเด็กจะพัฒนาขึ้น ในบริบทของการพูดคุยจริง ๆ โดยมีตัวอย่างและวัตถุประสงค์ของการพูดที่ชัดเจนรวมอยู่ในบริบทนั้น ดังนั้น หากเราเลียนแบบการพูดโดยสร้างบรรยากาศและบริบททุกอย่างให้เหมาะกับการอ่านและมีความหมายต่อเด็ก โดยการสอนอ่านจะไม่สอนแบบแยกภาษาออกเป็นส่วน ๆ เป็นต้นว่าพยัญชนะแต่ละตัวเรียกว่าอะไร อ่านออกเสียงอย่างไร แต่จะสอนด้วยนิทาน บทกวี แผ่นป้ายต่าง ๆ รวมถึงตัวหนังสือที่อยู่ในบริบทของเด็ก เช่น  กระดาษห่อขนม กล่องขนม ป้ายตามถนน เป็นต้น การสอนแบบนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการสอนภาษาแบบธรรมชาติหรือการสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language)  ทำให้เด็กจะมีความสุขกับการอ่านเนื่องจาก ไม่รู้สึกว่าถูกคาดหวังว่าต้องอ่านและจะทำให้เด็กรักการอ่านไปตลอดชีวิต 

          2.   บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัย  

          บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยมีความสำคัญต่อการอ่านของเด็กในฐานะผู้ต่อยอดการเรียนรู้จากครอบครัว ครูปฐมวัยในที่นี่อาจหมายถึงครูประจำชั้น ครูพี่เลี้ยง และครูฝึกสอน ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลเด็กในชั้นเรียนนั้น ๆ การส่งเสริมการใช้หนังสือปฐมวัยย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลเหลานี้เป็นหลัก เนื่องจากเป็นผู้ที่มีบทบาท และหน้าที่โดยตรงในการสอนและการตัดสินใจเลือกหนังสือที่คิดว่าดีที่สุดแล้วสำหรับอ่านให้เด็กฟัง นอกเหนือจากนี้ครูปฐมวัยยังมีความใกล้ชิดกับเด็กเป็นพิเศษ จุดเด่นนี้เองทำให้ครูรู้ถึงความแตกต่างและความต้องการของเด็กแต่ละคน ซึ่งทำให้ครูสามารถนำมาใช้ในการสอนเด็กให้ตรงจุดที่เด็กต้องการได้ โดยผ่านกระบวนการคัดเลือกหนังสือหรือเทคนิคต่าง ๆ ในการเล่านิทาน รวมไปจนถึงการจัดโปรแกรมการใช้หนังสือให้ตรงตามที่ต้องการจะเน้นเพื่อให้เด็กได้ประโยชน์สูงสุด  ครูปฐมวัยจึงต้องมีความคิดสร้างสรรค์สูงเพื่อคิดค้นเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ หรือสร้างโปรแกรมใหม่ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือของเด็ก วิธีการหนึ่งที่ครูปฐมวัยควรทำคือจัดทำระดับหนังสือตามระดับความยากง่ายในการอ่านแล้วติดแถบสีต่าง ๆ เป็นเครื่องหมายของระดับนั้น ๆ จากง่ายสุดไปจนถึงยากสุด (ระดับที่เด็กอ่านได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ) จากนั้นก็จะมีหนังสือ บันทึกการอ่านประจำตัวเด็ก ให้เด็กนำหนังสือไปอ่านที่บ้านตามระดับความสามารถในการอ่านของตนโดยมีผู้ปกครองเขียนบันทึกและลงนามรับรองการอ่านด้วย วิธีการนี้ใชมากในประเทศอังกฤษ สิ่งที่ได้จากวิธีนี้คือ ความกระตือรือรนของผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกได้เลื่อนระดับการอ่านสูงขึ้นตามแถบสี และหัวใจสำคัญของวิธี นี้คือการไม่ละเมิดสิทธิเด็ก ซึ่งในบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Covention on the Rights of the Child) โดยระบุไว้ในข้อที่ 18/1 ว่า “รัฐภาคีจะใช้ความพยายามที่สุดเพื่อประกันให้มีการยอมรับหลักการที่ว่า ทั้งบิดาและมารดามีความรับผิดชอบร่วมกันในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก บิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายแล้วแต่กรณี เป็นผู้รับผิดชอบเบื้องต้นในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นพื้นฐาน” และข้อที่ 29/1 ว่า “รัฐภาคีตกลงว่า การศึกษาของเด็กจะมุ่งไปสู่ ก) การพัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษ และความสามารถทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก ให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน” (United Nations, 1989)  จากบทบัญญัติทั้งขอที่ 18/1 และ 29/1 แสดงให้เห็นว่าหลักการในการพัฒนาเด็กให้รู้หนังสือนั้นต้องมุ่งไปสู่การพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน และการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ทั้งนี้การสอนโดยทั่วไปที่ครูใช้อยู่ในประเทศไทยมักสอนเป็นกลุ่มใหญ่่เด็กทั้งชั้นเรียนเหมือนกันทุกคน แต่การแบ่งหนังสือออกเป็นระดับความยากง่ายจะทำให้เด็กที่มีความพร้อมกว่าสามารถพัฒนาไปได้สูงสุดตามศักยภาพของตนโดยไม่ต้องรอเพื่อน  ซึ่งครูปฐมวัยพึงคำนึงเรื่องสิทธิเด็กจากแง่มุมนี้ด้วย ส่วนสมุดบันทึกการอ่านนั้นผู้เขียนใช้ตัวอย่างสมุดบันทึกการอ่านของโรงเรียน Ravenswood Primary School ประเทศอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยตารางแนวดิ่ง 2 แถบ แถบด้านซ้ายเป็นชื่อหนังสือที่อ่าน (BOOK) และวันเดือนปีที่อ่าน (Date...../...../.....) ส่วนแถบด้านขวาเป็นพื้นที่สำหรับเขียนบันทึกโดย นักเรียน ผู้ปกครอง หรือครู (Pupil, Parent, Teacher Comments) ตัวอย่างการเขียนสมุดบันทึกการอ่านของโรงเรียน Ravenswood Primary School

21.jpg

สมุดบันทึกการอ่านของ Kutai Sri-Amnuay โรงเรียน Ravenswood Primary School 

ที่มา : ถ่ายเมื่อ 19 พฤษภาคม 2559 ณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

          ครูปฐมวัยต้องทำหน้าที่วางแผนและประสานงานกับผู้ปกครองในการพัฒนาการอ่านของเด็ก การเรียนรู้ที่จะอ่านของเด็กจะง่ายขึ้นและสัมพันธ์กับเด็กมากขึ้นถ้าหากครูสามารถอธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจได้ว่า การอ่านของเด็กเล็กมีความคล้ายคลึงกับวิธีการเรียนรู้การพูดของเด็ก หากนำเงื่อนไขที่ดีสำหรับการเรียนรู้เรื่องการพูดมาปรับใช้กับการเรียนรู้ที่จะอ่านจะส่งผลต่อความสามารถในการอ่านของเด็กในทางที่ดีขึ้น เป็นต้นว่า การสร้างสถานการณ์และบริบทที่ห้อมล้อมเด็กอยู่ให้เต็มไปด้วยหนังสือและบรรยากาศของการอ่าน ทำให้เด็กเห็นตัวแบบของผู้ที่อ่านหนังสืออยู่ตลอดเวลา รวมถึงบทบาทของผู้ใหญ่ที่ให้การสนับสนุนการอ่านของเด็ก ครูปฐมวัยต้องเป็นคนที่รักหนังสือโดยธรรมชาติซึ่งไม่ใช่สอนเพียงเพราะเป็นหน้าที่เท่านั้น อันจะเป็นการฝืนธรรมชาติของตนเองในการส่งเสริมการใช้หนังสือ และเด็กก็จะรับรู้ความรู้สึกนี้ได้อาจทำให้เด็กไม่ประทับใจกับเรื่องราวที่ครูเล่าให้ฟัง ครูต้องนำหลักพัฒนาการของเด็กและจิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมาปรับใช้ในการเสริมแรงเพื่อให้เด็กเกิดมีความกระตือรือรนในการอ่านมากขึ้น เช่น การเสริมแรงโดยการให้เบี้ยอรรถกร (Tokes Economy) ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมแรงแล้วยังเป็นการสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับบ้านด้วย ตัวอย่างเบี้ยอรรถกรของโรงเรียน Ravenswood Primary School, Newcastle, UK ที่ออกโดยครูประจำชั้น Mis L. Brow 

22.png

เบี้ยอรรถกรของโรงเรียน Ravenswood Primary School 

ที่มา : ถ่ายเมื่อ 19 พฤษภาคม 2559 ณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

           3.  บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียน   

          ผู้บริหารโรงเรียนมีหน้าที่หลักในการจัดการดูแลกิจกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักสูตรที่วางไว้และให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้โดยหน่วยงานที่ดูแลการศึกษาระดับสูงขึ้นไป  ผู้บริหารโรงเรียนยังต้องมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะริเริ่มโครงการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนต่อการส่งเสริมการใช้หนังสือในระดับปฐมวัยจึงเป็นทั้งสนับสนุนครูให้ได้ใช้หนังสือให้มากที่สุดเกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็ก และคอยคิดหาวิธีใหม่และสร้างสรรค์ในการส่งเสริมการใช้หนังสือกับเด็กปฐมวัย 

           4. บทบาทหน้าที่ของผู้นำท้องถิ่น   

          เนื่องจากรัฐบาลได้ถ่ายโอนอำนาจการดูแลการศึกษาจากส่วนกลางไปสู่ทองถิ่น ผู้นำทองถิ่นจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดูแลนโยบายทางการศึกษาทั้งที่เป็นองคการบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้ง เทศบาลตำบลและเทศบาลเมืองต่าง ๆ การใช้หนังสือในระดับเด็กปฐมวัยซึ่งจะเชื่อมโยงกับการรู้หนังสือของเด็ก (Literacy) ซึ่งส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำท้องถิ่นเหลานี้ว่าจะให้การสนับสนุนเรื่องอะไรได้บ้าง เช่น เรื่องงบประมาณในการจัดหาหนังสือนอกเหนือจากที่งบประมาณที่ได้จากรัฐบาล เรื่องการฝึกอบรมครูเกี่ยวกับการใช้หนังสือ หรือจัดทำโครงการที่เป็นกิจกรรมเสริมในช่วงวันหยุดหรือปิดภาคเรียน 

          บทบาทที่สำคัญของ อบต. ผู้รับผิดชอบการเรียนรู้ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คือ การจัดหาหนังสือให้เพียงพอกับความต้องการของเด็กและจัดระบบให้เด็กเข้าถึงสื่อการอ่านได้สะดวก อาจเป็นงบประมาณที่จัดสรรจาก อบต. โดยตรง หรือประสานงานกับองค์กรอื่นเพื่อขอบริจาค และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องจัดระบบให้เด็กได้เข้าถึงสื่อการอ่านชนิดนี้ 

23.png

ภาพผู้ปกครองลงรายการยืมหนังสือไปอ่านที่บ้าน 

ที่มา : ถ่ายเมื่อ 15  มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต. หนองพลวง อำเภอจักราช

          5.   บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาระดับภูมิภาค   

          หลังจากการปฏิรูปโครงสร้างระบบการศึกษาครั้งใหญ่ในประเทศไทย ได้มีการจัดระบบบริหารการศึกษาใหม่โดยในแต่ละจังหวัดได้แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นแทนศึกษาธิการจังหวัดเดิม เพื่อให้มีพื้นที่ในความรับผิดชอบที่เล็กลงจะได้ดูแลอย่างทั่วถึง เขตพื้นที่การศึกษานี้จะมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อคุณภาพของการศึกษาในโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การมีโอกาสได้ใช้หนังสือความผูกพันกับหนังสือและการรู้หนังสือของเด็กปฐมวัยส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับนโยบายและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาสามารถใช้วิสัยทัศน์ของตนคิดโครงการขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการใช้หนังสือสำหรับเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ หรือ โครงการอาจมาจากความจำเป็นและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ก็ได้ เช่น โครงการส่งเสริมการใช้หนังสือในระดับปฐมวัยผ่านผู้ปกครอง โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่ บางโครงการอาจทำผ่านโรงเรียน วัด หรือ ห้องสมุดชุมชน 

          6. บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาระดับนโยบายประเทศ   

          ระบบการศึกษาของประเทศไทยได้มีระบบการจัดการในระดับนโยบายอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ การส่งเสริมการอ่านของเด็กปฐมวัยในระดับนโยบายของประเทศนี้จะเกี่ยวข้องกับงบประมาณและเป้าหมายของประเทศในภาพรวม รัฐบาลต้องมีนโยบายส่งเสริมการใช้หนังสือในระดับเด็กปฐมวัยในระดับประเทศ เนื่องจากเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลที่ได้ลงนามรับรองอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิเด็ก (Covention on the Rights of the Child)  ในฐานะรัฐภาคีขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้กำหนดให้รัฐบาลมีหน้าที่ส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่หนังสือสำหรับเด็กไว้ในหัวข้อที่ 17 ข้อย่อย (C) ดังรายละเอียดที่กล่าวไว้แล้วในบทที่ 2 (United Nations, 1989) หากพิจารณาโดยละเอียดแล้วจะทำให้เราเข้าใจได้ว่าหน้าที่ในการส่งเสริมการรู้หนังสือ การมีโอกาสใช้หนังสือของเด็กไทยเป็นหน้าที่ของคนไทยทั้งประเทศ สามารถเริ่มจากการพิจารณาถึงบทบาทของรัฐบาลตอเรื่องนี้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องเสนอนโยบายและงบประมาณสู่รัฐสภาเพื่อขออนุมัติ เมื่อได้รับการอนุมัติและผ่านงบประมาณจากรัฐสภาแล้วรัฐบาลโดยให้อำนาจความรับผิดชอบแก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการดำเนินการตามนโยบายที่ประกาศไว้ได้ จะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าเป็นหน้าที่ของ รัฐบาลแต่การส่งเสริมการใช้หนังสือและการรู้หนังสือของเด็กปฐมวัยก็เป็นความรับผิดชอบของประชาชนโดยตรง เนื่องจากต้องเลือกผู้แทนที่มีความรู้และวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมเรื่องนี้ จากการที่ผู้เขียนได้คลุกคลีและศึกษาระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษเป็นเวลามากกว่า 6 ปี ได้รับรู้ถึงนโยบายที่รัฐบาลอังกฤษได้ส่งเสริมการใช้หนังสือในระดับปฐมวัยอย่างก้วางขวางทั่วทั้งประเทศ เช่น นโยบายการส่งเสริมให้มีการใช้หนังสือกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด นโยบายการกระตุ้นการใช้ห้องสมุดสาธารณะ ซึ่งพรรคแรงงาน (The Labour Party) ได้ส่งเสริมอย่างจริงจัง ดังจะเห็นได้จากห้องสมุดสาธารณะทุกแห่งได้จัดให้มีมุมหนังสือสำหรับเด็กเป็นพิเศษ และมีที่สำหรับให้พ่อแม่นั่งอ่านหนังสือให้ลูกฟังหรืออาจปรับเปลี่ยนเป็นเวทีแสดงละครสำหรับเด็กโดยนำเนื้อหาจากหนังสือนิทานต่าง ๆ ที่ต้องการจะส่งเสริมให้เด็กอ่านมาจัดแสดง นโยบายดังกลาวนี้เป็นบทบาทหน้าที่โดยตรงของรัฐบาลแต่หน่วยงานในท้องถิ่น (City Council) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ แต่หากหน่วยงานในท้องถิ่นไม่ดำเนินการก็จะถูกร้องเรียนจากประชาชนผู้เสียภาษีซึ่งเขาจะรักษาสิทธิของตนเองอย่างเคร่งครัด 

24.png

การจัดมุมอ่านหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยห้องสมุดสาธารณะเมือง Newcastle, UK 

ที่มา: ถ่ายเมื่อ 7 ธันวาคม 2009  ณ ห้องสมุดสาธารณะเมือง Newcastle, UK

© 2023 by Little Rainbow. Proudly created with Wix.com

  • White Instagram Icon
  • White Yelp Icon
  • White Pinterest Icon
  • White Facebook Icon
bottom of page