
วิธีการสร้างเสริมความเป็นพลเมืองตื่นตัว
พลเมืองตื่นตัว (Active citizen) มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะได้เรียนวิชาหน้าที่พลเมืองหรือท่องคำจำกัดความมา หากเกิดจากการบ่มเพาะโดยพ่อแม่ ครู และสังคม โดยใช้ระยะเวลาพอสมควรให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในตัวทุกคน เน้นเรื่อง (ก) การเคารพความแตกต่างของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าตา ความเชื่อ เชื้อชาติ (ข) เคารพสิทธิและความเสมอภาค (ค) มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง (ง) เคารพกฎหมายและกฎกติกาของสังคม (จ) ใฝ่สันติภาพ (วรากรณ์ สามโกเศศ, 2015) การสร้างพลเมืองตื่นตัว (Active citizen) ถ้าจะทำให้สำเร็จต้องร่วมมือกับเครือข่ายครอบครัวและเครือข่ายโรงเรียน เพราะมีอิทธิพล ในการสร้างคน หากเด็กได้เรียนรู้ในแบบแอ็กทีฟเลิร์นนิ่งเชื่อมโยงกับความหมายชีวิตที่สนใจก็สามารถเป็นเครื่องมือช่วยสร้าง Active Citizen ได้ ซึ่งในประเทศอิสราเอล มี 4 องค์ประกอบในการสร้างพลเมืองตื่นตัวคือ 1) ระบบการศึกษา 2) กิจกรรมของเยาวชน 3) การเข้าเป็นทหาร 4) ครอบครัว (มัลลิกา, 2560) ในระบบการศึกษาโรงเรียนเป็นสถาบันที่สำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ปลดปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์ จุดไฟปรารถนาสู่ความสำเร็จ สร้างความสุขและความกล้าหาญในการใช้ชีวิต และสอนให้นักเรียนมีความรับผิดชอบและความยุติธรรม โรงเรียนที่ดีควรสามารถสร้างนักเรียนให้เป็นคนเก่ง รับผิดชอบ และอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย ต้องใส่ใจเรื่องการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีกระบวนการสอนที่ดีบรรยากาศในโรงเรียนดี วัฒนธรรมของโรงเรียนเป็นประชาธิปไตย นักเรียนมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน และความเชื่อใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อโรงเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก โรงเรียนที่ดียังต้องมีผู้นำที่ดี บริหารองค์กรบนพื้นฐานของประชาธิปไตย เป็นโรงเรียนประชาธิปไตย (democratic school) ซึ่งไม่เหมือนกับการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตย (democracy education) นักเรียนจะผ่านกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนเสมือนกำลังเป็น Active Citizen ในชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกติกาการอยู่ร่วมกัน การยอมรับ และชื่นชมในความแตกต่างระหว่างคนในโรงเรียน สิทธิซึ่งมาพร้อมหน้าที่และความรับผิดชอบ (คิม จงสถิต วัฒนา, 2560) ประเทศในยุโรปมีการพัฒนาความเป็นพลเมืองตื่นตัวและความสามารถของพลเมือง เป็นส่วนสำคัญของการจัดลำดับความสำคัญใหม่สำหรับความร่วมมือในยุโรปด้านการศึกษาและการฝึกอบรม ซึ่งเน้นบทบาทของการศึกษาในการส่งเสริมความยุติธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติ และการให้คุณค่าพื้นฐาน การรอบรู้ต่างวัฒนธรรม และความเป็นพลเมืองตื่นตัว (Practice, 2016) ครอบครัวสามารถช่วยให้เด็กได้สร้างนิสัยและค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักประชาธิปไตยได้ โดยเน้นการให้ความสำคัญและมองบุคคลในทุกแง่มุมและสนับสนุนให้เขาเห็นคุณค่าของความหลากหลาย ส่งเสริมสิทธิและให้มีการใช้สิทธิทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวมส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ การส่งเสริมความเสมอภาคและความยุติธรรมทางสังคม ส่งเสริมสันติภาพและการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ การท้าทายระบบการบริโภคนิยมและสนับสนุนการกระทำที่ส่งเสริมความยั่งยืน (Ahern, 2006). การศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยในทุกระดับ การเรียนรู้ที่จะเป็นพลเมืองตื่นตัวนั้นเกี่ยวกับ "ความรู้และทัศนคติ" ซึ่งต้องใช้วิธีการที่ผู้เรียนเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างกระตือรือร้นในการเรียนรู้ของตนเอง และควรได้รับการส่งเสริมในทุกระดับและในทุกภาคส่วนของการศึกษา หลักสูตรควรเป็นไปตามความสามารถ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่เป็นประชาธิปไตยสามารถคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์