top of page

หลักการเขียนหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย

         หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยมีลักษณะพิเศษกว่าหนังสือทั่วไป เนื่องจากผู้ใช้คือเด็กปฐมวัยซึ่งมีระดับพัฒนาการและความสนใจที่แตกต่างไปจากวัยอื่น ๆ การผลิตหนังสือเพื่อเด็กวัยนี้จึงต้องคำนึงถึงเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอของหนังสือให้สอดคล้องกับพัฒนาการและความสนใจของเด็ก ผู้ผลิตหนังสือจึงต้องเริ่มจากการเขียนเค้าโครงหนังสือ จากนั้นจึงสร้างภาพประกอบเรื่อง ดังนี้

         1. การเขียนเค้าโครงหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย

          การจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะต้องพิจารณารอบด้านทั้งด้านพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็ก และเรื่องของศิลปะการวาดรูปหรือการประดิษฐ์ภาพประกอบรวมถึงขั้นรวมถึงขั้นตอนและเทคนิคในการผลิตหนังสืออีกด้วย ในการทำหนังสือสำหรับเด็กต้องเริ่มจากการตัดสินใจว่าจะทำเรื่องอะไรและกำหนดจุดมมุ่งหมายในการจัดทำให้ชัดเจนหนังสือสำหรับเด็กแต่ละเล่มอาจมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเจาะจงที่ไม่เหมือนใครหรือไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งจะเป็นจุดเด่นของหนังสือเล่มนั้น ผู้เขียนจะต้อง สอดแทรกทั้งความรู้ ความคิด ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมไว้ในหนังสือสำหรับเด็ก ทั้งเป็นการส่งเสริม สติปัญญาและความสนุกเพลิดเพลินเพื่อให้เด็กสามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ ผู้จัดทำหนังสือควรคำนึงอยู่เสมอว่าจุดหมายหลักในการใช้หนังสือคือการอ่านหนังสือของเด็ก ซึ่งจะเกี่ยวข้อง   กับการพัฒนาทักษะทางการอ่านในปัจจุบันและนิสัยรักการอ่านอันจะส่งผลต่อเด็กในอนาคต ดังนั้นผู้จัดทำ หนังสือจึงต้องมีความรู้พื้นฐานในการเลือกประเด็นหรือแกนเรื่อง (Plots) ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ซึ่งในที่นี่เราจะเน้นแนวคิดความเป็นพลเมืองตื่นตัว (Active citizen) และต้องมีทักษะทางการเขียนเรื่องเพื่อให้สามารถเขียนเล่าเรื่องได้เข้าถึงความรู้สึกและความประทับใจของเด็ก

                การเลือกประเด็นเพื่อเขียนหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย

               ขั้นตอนแรกในการจัดทำหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น คือ การคิดเรื่องหรือค้นหาประเด็นที่จะ เขียนเป็นเรื่องราวเพื่อใช้ในการจัดทำหนังสือ การเลือกประเด็นมาใช้ทำหนังสือให้เด็กปฐมวัยอ่านนั้นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ผู้จัดทำต้องใช้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ที่ได้กลั่นกรองแล้วเป็นอย่างดี หนังสือเด็กเล่มเดียวอาจเป็นเรื่องเล็กๆในความคิดของผู้ใหญ่ แต่จะเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากและสำคัญมากสำหรับชีวิตของเด็กเพราะจะเป็นการนำเขาออกไปสู่การรับรู้โลกภายนอกทั้งโลกแห่งจินตนาการและความเป็นจริง และหนังสือเล่มนั้นอาจเป็นพลังหรือแรงจูงใจในการเป็นพลเมืองตื่นไปตลอดชีวิตในหลักการที่ใช้สำหรับเลือกประเด็นหรือแกนเรื่องเพื่อผลิตหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ยังไม่ปรากฎว่ามีการจัดการกลุ่มหลักการเลือกไว้ที่ใด แต่จากประสบการณ์ของผู้เยวชาญด้านหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย การเลือกประเด็นมาผลิตหนังสือของนักศึกษาซึ่งสามารถจัดกลุ่มอย่างกว้างๆได้ดังนี้ เลือกผลิตตามวัตถุประสลค์ที่จะใช้หนังสือ (Based on objectives) เลือกจากประเด็นที่เข้าถึงความรู้สึกประทับใจของเด็ก (Based on child's impression) และเลือกจากเรื่องที่แปลกใหม่ไม่มีขายในตลาดหนังสือ (Based on novelty and uniqueness) ในที่นี่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองตื่นตัว (Active citizen) โดยเชื่อมโยงกับเรื่องราวและวิถีชีวิตจริงในชุมชน ดูตารางแนวคิดพลเมืองตื่นตัว)

          2. การเขียนโครงร่างของเรื่องหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย

            การเขียนโครงร่างของเรื่อง เป็นขั้นตอนที่พัฒนาต่อเนื่องจากการเลือกประเด็นหรือคิดเ รื่องเพื่อเขียนหนังสือสำหรับเด็กซึ่งต้องคำนึงว่าเด็กคือเป็าหมายหลักของการใช้หนังสือเล่มนั้นและผลจากการใช้ หนังสือเล่มนั้นอาจจะเป็นแรงบันดาลใจหรือสส่งผลต่อชีวิตของเด็กในระยะยาว หรืออาจเปลี่ยนทัศนคติ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งอาจเป็นได้ทั้งทางบวกหรือทางลบ ดังนั้นผู้เขียนโครงร่างของหนังสือจะต้องนำเสนอแต่สิ่งดีงาม สิ่งที่ถูกต้องมีคุณธรรมจริยธรรมและสร้างสรรค์สังคม เนื้อหาควรจะจบกระบวนความในใจของเด็ก จบเรื่องอย่างมีความสุข ไม่มีสิ่งที่คาใจหรือคำถามที่คาใจเด็กอยู่อีก เช่น ตัวละครเอกในเรื่องได้รับชัยชนะจากฝ่ายอธรรมหรือสมหวัง ไม่ควรจบเรื่องด้วยความโศกเศร่าหรือการพลัดพรากเพราะเด็กจะรุ้สึกหดหุ่ เด็กควรจะได้เรียนรู้ว่าโลกนี้มีความหวัง มีความยุติธรรมสำหรับคนดี และนี่คือพลังแห่งการมีชีวิตในอนาคตของเด็ก

           ควรทำให้แตกต่างจากผุ้อื่นที่เคยมีมาแล้ว หมายถึงว่าไม่ควรเลียนแบบหนังสือเล่มอื่น ทั่วไป ความแปลกใหม่ทั้งรูปแบบและเนื้อหาจะทำให้เด็กสนใจมากขึ้น เนื้อเรื่องควรมีลักษณะที่ส่งเสริมความ เป็นพลเมืองตื่นตัว (Active citizen) คุณธรรม ความอยากรู้อยากเห็น และแรงบันดาลใจในชีวิตของเด็ก การเขียนโครงร่างของเรื่องควรดำเนินตามขั้นตอนดังนี้

     ขั้นที่1 ตั้งชื่อเรื่อง เป็นความคิดรวบยอดของเรื่องนั้นเรื่องควรมีที่มาจากตัวเอกของการคิดชื่อ เรื่อง หรือ จากเหตุการณ์ภายในเรื่องทั้งหมด ชื่อเรื่องมีความสำคัญมากเพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นของผู้อ่านที่จะ ติดตามอ่านเรื่องจนจบ

     ขั้นที่2 ผูกเรื่อง เป็นการคิดเรื่องอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่จะจัดลงฉากในแต่ละฉากที่ผุ้เขียนจะ จินตนาการในเรื่องที่ตนจะเขียนก่อนที่จะเขียนอย่างละเอียด

     ขั้นที่3 จับแก่นสาระของเรื่อง หมายถึง การกำหนดแกนของเรื่องหลังจากที่ได้ผูกเรื่องอย่างคร่าว ๆ แกนของเรื่องนี้จะเป็นตัวยึดทุกส่วนของเรื่องราวในหนังสือให้อยู่ในประเด็นเดียวกัน ซึ่งเปรียบได้กับโครง กระดูกของร่างกาย

     ขั้นที่4 จัดฉากชีวิตตัวละคร หมายถึง การวางเรื่องที่จะให้ตัวละครแต่ละตัวเป็นใครและมีบทบาท อย่างไรในเรื่องนั้น ๆ อาจนำมาจากเรื่องสมมติหรือจากสภาพความเป็นจริงในสังคม หรือจากประสบการณ์ที่ พบเห็นนำมาจัดให้เข้ากับฉากภายในเนื้อเรื่องที่เขียน

     ขั้นที่5 กำหนดตัวละคร หมายถึง ตัวที่แสดงพฤติกรรมตามโครงเรื่องที่คิดไว้ ผู้เขียนเรื่อง ต้องรู้ว่าจะให้ตัวละครแสดงบทบาทอะไรอย่างไร แสดงอารมณ์อย่างไร ซึ่งจะเป็นไปตามบทที่กำหดให้และอยู่ภายในกรอบของแกนเรื่อง ข้อพึงสังเกตสำหรับหนังสือสำหรับเด็ก โดยส่วนใหญ่จะใช้ตัวแสดงไม่มากนักเพื่อไม่ให้เด็กสับสน

     ขั้นที่6 กำหนดลักษณะของภาษา หมายถึง การใชช้ภาษาในหนังสือเล่มนั้นว่าเราจะใช้สำนวน ภาษาอย่างไร เช่น ร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง สำหรับเด็กเล็กควรใช้คำง่าย ๆ แต่มีความหมายที่ตรงไปตรงมาไม่ ต้องแปลความหมายอีกครั้ง ควรเป็นคำไทยง่าย ๆ สั้น ๆ และกระชับความหมายภาษาคือประเด็นสำคัญที่ ผู้เขียนเรื่องต้องให้ความสนใจ ควรใช้ประโยคสั้น ๆ หรือแบ่งประโยคที่ยาวให้เป็นวลีสั้น ๆ ประโยคที่ไม่สมบูรณ์ก็สามารถใช้ได้ในหนังสือเด็ก รวมถึงการใช้เทคนิคการทำซ้ำ (Repetition) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่จะ เสริมสร้างแกนเรื่อง (Plot) ให้แน่นขึ้นและยังเป็นการส่งเสริมความสามารถในการอ่านของเด็กอีกด้วย  โดยเฉพาะการซ้ำคำศัพท์ยากจะเพิ่มทักษะทางการอ่านและช่วยให้เด็กเข้าใขเนื้อเรื่องมากขึ้น

          หลักการสำคัญที่พึงตระหนักในการเขียนโครงร่างของเรื่อง คือ หนังสือภาพที่ผลิตจะต้องสนุกทั้งสำหรับการอ่านและการฟังของเด็ก ไม่ควรกังวลว่าจะต้องใชช้คำง่าย ๆ เสมอไปหากจำเป็นจต้องใช้คำยากเพื่อ พัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กให้สูงขึ้นก็ใช้ได้แต่ควรมีบริบทที่เสริมกับคำยากนั้นเพื่อให้เด็กเข้าใจได้ แต่พึง ตระหนักว่าไม่ควรใช้คำยากหากไม่มีความสำคัญต่อการเข้าใจแกนเรื่อง ซึ่งความจริงเด็กจะสนใจและสนุกกับความคิดสร้างสรรค์และการเล่นภาษาที่แปลก ๆในหนังสือนั้นมากกว่าอย่างอื่น ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวกับการใช้คำที่มีเสียงแปลกหรือสร้างคำที่ไม่เคยมีมาก่อนตราบใดที่ยังสามารถเช้าใจเนื้อหาและบริบทได้ ตัวอย่างเช่น “อีเล้งเค้งโค้ง” เป็นรูปแบบการทำซ้ำเสียงและยังอาศัยจังหวะในการใช้งานและความคิดสร้างสรรค์ของเสียง ใน ต่างประเทศจะมีหนังสือที่มีหลักในการสร้างคำที่แปลกประหลาดที่ทำให้เกิดเสียงที่สัมผัสกันและเป็นหนังสือ คลาสสิคที่เด็กชอบ เช่น ผลงานของ Dr.Seuss เรื่อง Fox in Sock ซึ่งเน้นการฝึกทักษะการออกเสียง Dr. ( Seuss, 1993)

         สิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงในการเขียนหนังสือสำหรับเด็กคือไม่ควรขียนแบบพระเทศน์หรือครูสอนหนังสือคือ ดำเนินเรื่องไปแบบเรียบๆไม่มีอะไรตื่นเต้นจะทำให้เด็กรู้สึกเบื่อ ไม่ควรใช้คำพูดเหมือนกับว่า เด็กเป็นผู้ใหญ่ที่ตัวเล็กซึ่งคิดว่าเด็กมีความรู้และประสบการณ์เหมือนกับผู้ใหญ่ ใช้ศิลปะที่ไม่เหมาะสมกับเรื่อง ไม่ควรเขียนหนังสือภาพที่ใช้ตัวหนังสือมาก ไม่ควรเขียนหนังสือประเภทสารคดีที่ใช้ตัวหนังสือมากเกินไปและภาพน้อยเกินไป ไม่ควรสร้างตัวละครที่น่าเบื่อและไม่จำเป็นต่อเรื่องนั้น ๆ ไม่ควรสร้างละครที่มีปัญหาและไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตลอดเรื่อง ไม่ควรสอนโดยตรงว่าเด็กควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไรแต่ควรใช้วิธีการแสดงออกผ่านตัวละคร

         3. การจัดทำต้นฉบับของหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย

       การทำตต้นฉบับของหนังสือเป็นการพัฒนาผลที่เกิดจากการวางโครงเรื่องที่ได้นำเอาเนื้อหาอันเป็นสาระหลักของเรื่องมาเขียนเรียงลำดับเหตุการณ์จากต้นจนจบเรื่องราว ซึ่งเรื่องราวตามโครงเรืองจากขั้นตอนการเขียนเรื่องที่ผ่านมายังไม่สามารถเห็นเป็นรูปร่างของหนังสือได้ จึงจำเป็นต้องพัฒนารูปร่าง เป็นหนังสือแบบคร่าว ๆ ซึ่งอาจเรียกว่าโครงร่างของหนังสือ ในขั้นของการทำต้นฉบับของหนังสือนี้เป็นการ นำเอาเรื่องราวที่ได้เขียนไว้แล้วมาเปลี่ยนให้เป็นภาพและอาจมีคำบรรยายภาพในแต่ละฉาก เริ่มจากการเขียนบทสคริปต์ (Script) การจัดเรียงลำดับภาพ และการจัดรูปเล่ม

         3.1 การเขียนต้นร่างเป็นการนำเรื่องราวที่ได้จากเคค้าโครงเรื่องหรือเนื้อเรื่องย่อ มาเขียนเรียงลำดับเหตุการณ์เพื่อเล่าเนื้อเรื่องและมีรูปภาพประกอบ โดยการบอกรายละเอียดในแต่ละหน้าของหนังสือว่าจะมีภาพอะไรและคำบรรยายอย่างไรบ้าง ภาพแต่ละภาพเกี่ยวกับอะไรแสดงท่าทางอย่างไร และบริบทของภาพเป็นอย่างไร ในส่วนคำบรรยายภาพจะเขียนอะไรและอยู่ส่วนใดของภาพ การเขียนบทสคริปต์นี้จะเป็นแนวทางในการจัดวางภาพและรูปเล่มของหนังสือ ว่ามีจำนวนกี่หน้า ภาพทั้งหมดเมื่อเรียงลำดับภาพแล้วสามารถเล่าเรื่องแทนตัวหนังสือได้หรือไม่ ในขั้นตอนการเขียนสคริปต์นี้ผู้ผลิตหนังสือต้องมีจินตนาการ นึกถึงภาพในแต่ละฉากได้ตลอดไปจนถึงรูปเล่มที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ตัวอย่างการเขียนบทสคริปต์ (Script) (ดู ภาคผนวก ใบงานที่ 4.1)

         3.2 การร่างภาพและจัดเรียงลำดับภาพ เป็นการดำเนินต่อเนื่องตามบทสคริปต์ที่ได้เขียนไว้มา วาดลงบนเล่มจริงเริ่มด้วยการออกแบบตัวละครและร่างภาพในแต่ละฉากให้มีลักษณะกิริยาอาการตามบทที่เขียนไว้ ประเด็นสำคัญและเป็นลักษณะเด่นของหนังสือสำหรับเด็ก ภาพในแต่ละฉากต้องเรียงลำดับกันจนสามารถเล่าเรื่องได้เองทั้งเรื่องถึงแม้ว่าจะมีหรือไม่มีคำบรรยายภาพก็ตาม สำหรับคำบรรยายที่จำเป็นต้องเขียนต้องจัดให้อยู่ในบริเวณที่โล่งที่สุด ไม่จำเป็นต้องมีสีพื้นหลัง (Back ground) หรือถ้ามีก็ควรจะเบาบางที่สุดเพื่อให้อ่านได้ง่ายโดยไม่มีสีของภาพมากีดขวางคำบรรยาย สำหรับความยาวของเรื่องจะมีความยาวโดยเฉลี่ยที่ 16 หน้า อาจจะมีมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเรื่องคำบรรยายควรใช้ประโยคที่ไม่ยาวเกินไปและไม่มีความซับซ้อน ผู้ผลิตต้องคิดเสมอว่าเขียนหนังสือให้เด็กอ่านมิใช่ผู้ใหญ่อ่าน ภาษาที่ใช้จึงต้องเหมาะกับวัยของเด็ก

           3.3 การจัดรูปเล่ม เป็นการมองภาพรวมของหนังสือทั้งเล่มและรายละเอียดในแต่ละหน้า ใน หนังสือหนึ่งเล่มควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

                   3.3.1. ปกหน้า ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ภาพตัวเอกของเรื่อง ชื่อผู้แต่งเรื่อง ชื่อผู้วาดภาพ

                   3.3.2. ปกหลัง ประกอบด้วย ประวัติผู้แต่ง ขข้อคิดตอนจบเรื่อง

                   3.3.3. หน้าอุทิศ (ถ้ามี) แสดงเจตนาของผู้แต่งว่า จะมอบคุณงามความดีของผลงานให้แก่ผู้ใด

                   3.3.4. คำนำ (อาจเป็นส่วนเดียวกับหน้าอุทิศ) บอกแจ้งจุดมุ่งหมายของการแต่งเล่มนั้น คำ กล่าวขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจนผลงาน

                            สำเร็จ

                   3.3.5. เนื้อเรื่อง เปํนเรื่องราวที่จัดเป็นฉาก ๆ เอาไว้จนจบเรื่อง

                   3.3.6. กิจกรรมท้ายเล่ม หรือสาระที่ควรรุ้เพิ่มเติม ที่พ่อแม่ผู้ปกครองหรือครูสามารถใช้ทำร่วมกับเด็กหลังจากอ่านหนังสือเล่มนั้นเสร็จ

                            แล้ว (อาจมีหรือไม่ก็ได้)

         เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนเหล่านี้แล้วจึงนำไปสู่การสร้างภาพประกอบเรื่องหนังสือสำหรับเด็กนั้นมีอนึ่ง ความยืดหยุ่นอยู่มาก ไม่จำเป็นมากนักที่จะกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องมีสิ่งเหล่านี้ครบทั้งหกอย่างตามที่กล่าวมา เพียงแต่ผู้ผลิตใช้วิจารณญาณได้เองว่าสิ่งใดควรจะต้องมีซึ่งจะทำให้หนังสือเล่มนั้นสมบูรณ์ขึ้นและเป็นระโยชน์สูงสุดต่อเด็ก

         4. การสร้างภาพประกอบเรื่อง

         หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยมีส่วนที่สำคัญที่สุดคือภาพเป็นตัวสื่อสารเรื่องราวที่ผู้เล่าต้องการจะสื่อ เรื่องนั้นๆไปสู่เด็ก ในหนังสือภาพสำหรับเด็กปฐมวัยภาพมิใช่แค่ภาพประดับตกแต่งเพื่อเสริมเรื่องหรือเนื้อหาเท่านั้น แต่ภาพนั้นมีหน้าที่สำคัญมากเสมอกับเรื่องาะภาพในหนังสือสำหรับเด็กถือเป็นการเล่าเรื่องอีกแบบหนึ่ง หากตัดคำหรือเนื้อเรื่องออกไป และดูเฉพาะภาพเพียงอย่างเดียวก็สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ (ปรีดา ปัญญาจันทร์ และ สุดไผท เมืองไทย, 2557 : 13) ผู้ผลิตหนังสือจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการสร้างภาพประกอบเรื่องนั้น ซึ่งจะทำให้สามารถเลือกใช้ลักษณะของภาพประกอบได้ตรงตามวัตถุประสงค์ การจัดองต์ประกอบภาพและการเขียนคำบรรยายภาพ ก็เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผผู้ผลิตหนังสือสำหรับเด็กยิ่งไปกว่านั้นการระบายสีภาพเป็นทักษะที่สำคัญที่ต้องมี ซึ่งผู้วาดภาพประกอบต้องมีความรู้เรื่องคุณลักษณะ ของสีชนิดต่าง ๆ การผสมสี รวมถึงจิตวิทยาของการใช้สี

          1. วัตถุประสงค์ของการสร้างภาพประกอบเรื่องหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย

         ภาพประกอบเรื่องมีหน้าที่และบทบาทสำคัญหลายประการในหนังสือสำหรับเด็กทั้งประเภทบันเทิงคดีและสารคดีการเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น จะทำให้ผู้ผลิตหนังสือเพิ่มความระมัดระวัง ความละเอียด และความประณีตมากขึ้น อันจะทำให้หนังสือเล่มนั้น ๆ มีคุณค่าทางวิชาการและดึงดูดความสนใจของเด็กได้มากขึ้น ซึ่งพอจะสรุปวัตถุประสงค์ของใช้ภาพในหนังสือสำหรับเด็กได้ดังต่อไปนี้

               1.1 เพื่ออธิบายและเสริมเนื้อหาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กช่วย และเสริมสร้างเนื้อหาให้เด็กเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องชัดเจนตามเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือสารคดีสำหรับเด็ก ภาพประกอบจะต้องมีความถูกต้องและชัดเจนตามสาระที่เป็นจริงทุก ประการซึ่งอาจใช้ภาพเหมือนจริงหรือภาพสมมติก็ได้แต่ยังคงความถูกต้องของสาระไว้ ส่วนภาพประกอบ หนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยกว่า ภาพประกอบไม่จำเป็นต้องเหมือนนจริงก็ได้ ผู้วาดภาพประกอบหรือนักวาดภาพสามารถคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาเองได้ตามเนื้อหาของเรื่องราว เพียงแต่ให้ภาพ มีความสอดคล้องหรือสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องก็เป็นอันใช้ได้

               1.2 เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กให้สนใจในหนังสือ ภาพประกอบปกหนังสือสำหรับเด็กมีส่วน เป็นอย่างมากในการช่วยให้เด็กมีความสนใจในหนังสือ เพราะสิ่งแรกที่ปรากฏต่อสายตาของเด็กคือภาพปก หนังสือ ถ้าหากภาพปกของหนังสือได้มีการออกแบบอย่างสวยงามและเหมาะสมกับวัยของเด็กแลล้วจะทำให้เด็ก สนใจและอยากอ่านหนังสือเล่มนั้นมากยิ่งขึ้น และถ้าเรื่องราวหรือเนื้อหาในหนังสือน่าสนใจหรือสนุกชวนติดตามยิ่งทำให้เด็กเกิดความประทับใจมักจะหยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้นมาบ่อย ๆ และจะเปลี่ยนเป็นนิสัยรักการอ่านในที่สุด

               1.3 เพื่อจุดประกายและสร้างจินตนาการสำหรับเด็ก นอกจากเด็กจะได้ความรู้ ความเขข้าใจและ ความคิดฝันจินตนาการจากเรื่องในหนังสือแล้ว ภาพประกอบถือได้ว่าช่วยอธิบายให้เรื่องนั้นชัเจนยิ่งขึ้นรายละเอียดต่างๆ ในภาพอันได้แก่องค์ประกอบของภาพ รูปแบบของภาพ สีสัน น้ำหนักของสีและเทคนิคใน การสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเกิดความคิดจินตนาการต่อยอดเป็นสิ่งใหม่ที่อาจจะไม่ได้อยู่ในหนังสือเล่มนั้น

               1.4 เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดความประณีตและรักความสวยงาม ภาพประกอบหนังสือเด็กจะช่วย ส่งเสริมเด็กให้มีความประณีตมีความสุนทรียะในงานศิลปะ หากภาพในหนังสือมีความสวยงาม สีสันสะ สดใส และมีการจัดองค์ประกอบภาพอย่างประณีตสวยงาม จะทำให้เด็กรักในความงดงามมีรสนิยมในเชิงศิลปะ เพราะภาพประกอบที่ดีจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกเด็ก และให้เด็กเกิดความประทับใจต่อเรื่องนั้น ๆ ด้วยได้ ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถของเด็กที่จะเรียนรู้ความแตกต่างของชนิดหนังสือตามลำดับขั้นดังนี้ สี ภาพวาด และภาพวาดขาวดำ พบว่าเด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน สามารถเรียนรู้ในขั้นของภาพถ่ายสี ส่วนเด็กอายุ 2 ปี เรียนรู้จากภาพวาดสีได้พอ ๆ กับภาพถ่ายสีแต่เรียนรู้ภาพวาดขาวดำได้น้อย ในขณะที่เด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน สามารถเรียนรู้จากภาพทั้ง 3 ประเภท จากการศึกษานี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าภาพสามารถสร้างความ แตกต่างได้เป็นอย่างมากต่อสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากหนังสือ คือ ความสามารถของเด็กในการตอบ สัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน สัญลักษณ์เป็นตัวแทนของบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งภาพก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งและเป็นตัวแทนของสิ่งของจริงที่ต้องการแสดง สัญลักษณณ์เป็นตัวแทนที่มีความเป็นรูปธรรมและเป็นภาพง่าย ๆ ยิ่งทำให้ดูใกล้เคียงกับของจริงมากขึ้น อย่างเช่นภาพถ่ายสีที่ให้ภาพเหมือนจริง ส่วนภาพสัญลักษณ์ที่มีความเป็นนามธรรม อย่างเช่น ภาพวาด ขาว-ดำ ทำให้ดูต่างไปจากของจริงยิ่งขึ้น ความสามรถในการใช้และเข้าใจ สัญลักษณ์หมายถึงทักษะทางสัญลักษณะของเด็ก คำศัพท์ก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ใช้แทนสิ่งที่เรากล่าวถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าอาจมีปัญหาบ้างในการใช้และเข้าใจสัญลักษณ์บางอย่าง ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องตระหนักถึงชนิดของภาพที่จะใช้หนังสือสำหรับเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นสัญลักษณ์ที่เด็กสามารถเข้าใจได้

          2. ลักษณะของภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย

          ภาพที่ใช้ประกอบในหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีลักษณะที่หลากหลายมีการใช้วัสดุที่แตกต่างกันออกไปทำใหห้เกิดคุณสมบัติของภาพที่มีความแตกต่างตามวัถุประสงค์ของผผู้เขียนหนังสือ

               2.1 ลักษณะภาพโดยทั่วไปภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ ลักษณธ เหมือนจริงซึ่งจะให้ลักษณะที่ดูแล้วรู้สึกเหมือนจริง ลักษณะสร้างสรรค์หรือจินตนาการจะไม่มีลักษณะเหมือน จริงมากนักประกอบขึ้นตามลักษณะภาพออกเป็น 4 แบบ ได้แก่

                     1. ภาพเหมือนจริง เป็นภาพที่ใช้กับเรื่องราวที่เหมือนจริงประเภทสารคดี

                     2. ภาพกึ่งเหมือนจริงเป็นภาพที่ออกแบบลักษณะภาพขึ้นมาใหม่เพื่อให่าสนใจและมี ชีวิตชีวามากขึ้น ซึ่งใช้วิธีการที่หลากหลาย

                     3. ภาพการ์ตูนเป็นภาพที่เน้นอารมณ์ของภาพให้ชัดเจนและตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ

                     4. ภาพลดทอนหรือภาพสัญลักษณ์ เป็นภาพที่เหมาะกับเด็กเล็กวัยเริ่มเรียนอสาร ใช้การสื่อแบบตรงไปตรงมา รูปและพื้นสะอาด

                        ชัดเจน ไม่ซับซ้อน มีส่วนประกอบในภาพน้อยหรือไม่มีเพื่อให้เด็กเข้าใจ ง่าย อาจสอดแทรกอารมณ์ความรุ้สึกลงในภาพเพื่อให้เด็ก

                        เรียนรู้ความรู้สึกอารมณ์ต่าง ๆ

               2.2 การประดิษฐ์ภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก หนังสือแต่ละเล่มสามารถเลือกใช้ลักษณะ ของภาพประกอบแต่ละแบบที่กล่าวมาข้างต้นให้เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนั้น ๆ ซึ่งการนำเสนออาจมีวิธีการและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปอีกหลายประเภทให้เลือกใช้ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพตกแตงด้วยกระดาษสี ภาพการ์ตูนสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ (ตัวอย่างเช่น สติกเกอร์ที่มีวางขายทั่วไป) ภาพตัดผนึก (ภาพจากที่อื่นที่ตัดมาติดลงในเล*มหนังสือ โดยมีลักษณะภาพตรงตามเนื้อเ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ (ตัวอย่างเช่น ภาพเลื่อน ภาพสองหน้า ภาพพูดได้)

               2.3 คุณสมบัติที่ดีของภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก การเลือกใช้ภาพทุกรูปแบบทุกวิธีการที กล่าวมานั้นสิ่งที่ผู้ประดิษฐ์ภาพต้องคำนึง คือ คุณลักษณะของภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถสรุปลักษณะโดยทั่วไปได้ดังนี้

                    1. มีความสมดุลของภาพ ไม่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง

                    2. มีสัดส่วนเหมาะสมกับหน้าหนังสือไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป

                    3. มีความกลมกลืนกันในภาพ ไม่มีสิ่งแปลกปลอมหรือขัดแย้งกันภายในภาพ

                    4. มีจุดด่นดี ในหนึ่งภาพควรมีจุดเด่นที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นพิเศษ

                    5. มีสีตัดกันจะทำให้เด็กปฐมวัยมองเห็นขอบเขตของตัวละครหรือจุดสิ้นสุดของภาพได้ชัดขึ้น

                    6. มีความคิดรวบยอดเพียงอย่างเดียว ในหนึ่งภาพควรมีแค่ความคิดรวบยอดเดียวจะทำให้ เด็กไม่สับสนและเข้าใจเรื่องราวได้ดีขึ้น

                    7. แสดงออกถึงอารมณ์ของตัวละคร ภาพควรมีสีหน้าหรือลักษณะกิริยาของตัวละครจะทำ ให้อารมณ์ของผู้อ่านคล้อยตามเรื่องราวใน

                       หนังสือ

                    8. มีมิติ ภาพในแต่ละหน้าควรมีทั้งความชัดในส่วนที่เป็นจุดเน้นด้านหน้าและมีส่วนที่เป็นความลึกของภาพซึ่งเป็นส่วนประกอบของ

                       ภาพ ทำให้ภาพมีมิติ

                    9. มีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก ภาพแต่ละภาพควรสอดคล้องกับพื้นฐานของพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้านและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก

                       ปฐมวัย

          3. การจัดองค์ประกอบภาพและการเขียนคำบรรยายภาพ

          การจัดโครงสนร้างหน้าหนังสือ คือ การจัดวางตัวละครและสิ่งประกอบที่ต้องการให้ปรากฏบนหน้าหนังสือในแต่ละหน้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม การจัดหน้าหนังสือที่ดีมีความสำคัญต่อภาพที่ถูกนำเสนอต่อสายตาของเด็กเพราะจะทำให้มีจุดเด่นชวนมองและดึงดูดความสนใจ หนังสือสำหรับเด็กในแต่ละหน้าจะมีสิ่งที่ต้องการสื่อสารกับเด็กปรากฏอยู่ทุกหน้า โดยใช้ภาพและคำบรรยายภาพเป็นตัวส่งสารนั้น ๆ การสื่อสารกับเด็กเล็กผู้สื่อสารจะต้องมีการวางแผนที่ดีและเลือกวิธีการที่เหมาะสม เนื่องจากเด็กเล็กจะมีข้อจำกัดในการรับสาร ภาพในแต่ละหน้าจะต้องสามารถสื่อสารได้ตรงตามที่ผู้ผลิตต้องการ ดังนั้น ความรู้เรื่องการจัดโครงสร้างหน้าหนังสือจึงเป็นพื้นฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการผลิตหนังสือ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้จากการจัดโครงสร้างของภาพตามแบบแผนการวาดภาพโดยทั่วไปของศิลปิน เนื่องจากหนังสือสำหรับเด็กโดยส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือภาพที่มีลักษณะเหมือนกับการวาดภาพทีละภาพลงบนแผ่นกระดาษหรือผืนผ้าใบ แต่จะมีสิ่งที่เพิ่มติมขึ้นมาคือคำบรรยายภาพหรือเนื้อเรื่องของผู้วาดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กสามารถปรับวิธีการของศิลปินมาใช้กับการจัดโครงสรร้างของหน้าหนังสือได้ โดยมีสิ่งที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ คือรูปแบบการจัดโครงสร้างของหนน้าหนังสือ (Patterns of page structuring) องค์ประกอบของหน้าหนังสือ (Composition of the page) การวางจุดเด่น (Dominance) การเน้น (Emphasis) ความสมดุลของภาพ (Balance) สัดส่วน (Proportion) จังหวะ (Rhythm) ความกลมกลืน (Harmony) ความแตกต่าง (Contrast)

              3.1 รูปแบบการจัดโครงสร้างของหน้าหนังสือและการเขียนบรรยายภาพหนังสือสำหรับเด็ก ปฐมวัยส่วนมากยังต้องการส่วนที่เป็นภาษาเขียน เพื่อช่วยอธิบายหรือบรรยายภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อเสริมในส่วนที่ภาพไม่สามารถนำเสนอได้ หรือเพื่อฝึกให้เด็กได้คุ้นเคยกับภาษาเขียนและฝึกการอ่าน การเขียน บรรยายภาพนี้สามารถเขียนในพื้นที่ที่ว่างของภาพหรือในบริเวณที่มีสีพื้นหลังจางๆ เพื่อให้สมารถมองเห็น ตัวหนังสือได้ชัดขึ้น หรืออาจเขียนในกล่องข้อความคำพูดซึ่งสามารถเจาะจงได้ว่าเป็นคำพูดของตัวละครตัวใด แต่อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กเล็ก เด็กมักจะไม่สนใจข้อมูลจากคำบรรยาย เมื่อจะแปลความหมายของภาพที่เห็นในหนังสือเขาจะแปลจากประสบการณณ์ที่มีอยู่เสียเป็นส่วนใหญีรูปแบบของหน้าหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นอาจ เลือกได้เป็นทิศทาง คือแนวตั้ง (Vertical) และแนวนอน (Horizontal) เด็กปฐมวัยจะชอบหนังสือแนวตั้ง มากกว่าแนวนอนเนื่องจากจับเล่มหนังสือและเปิดปิดง่ายกว่า แต่รูปแบบแนวนอนจะทำให้ได้ภาพในมุมมองที่ กว้างกว่า ดังแสดงในต่อไปนี้

9.jpg

รูปแบบการจัดหน้าหนังสือ 2 ทิศทาง

         3.2 ส่วนประกอบของหน้าหนังสือ (Composition of the page) การวาดภาพของศิลปินจะมี ส่วนประกอบของภาพอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนประธาน (Subject) และส่วนรอง (Sub ordination) ส่วน ประธานเป็นส่วนที่ผู้วาดภาพให้ความสำคัญเพราะเป้นส่วนที่ต้องการจะเน้นให้เป็นจุดสนใจ ส่วนรองจะเป็นส่วนที่มีหน้าที่เสริมอยู่รอบ ๆ เพื่อเน้นส่วนประธานให้เด่นและเกิดความสำคัญมากขึ้น รวมถึงทำให้ภาพทั้งภาพ ดูแล้วมีชีวิตชีวาน่าสนใจมากขึ้น หน้าหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น อาจมีสส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมา คือ การเขียนคำ บรรยายเนื้อเรื่อง ตัวอย่างภาพที่มีส่วนประธาน ส่วนรองและส่วนคำบรรยาย ซึ่งหนังสือเป็นแบบแนวตั้งใช้ 2 หน้าคู่ ส่วนประธานเป็นแมวแสดงมายากล ส่วนรองคือเด็ก 2 คนอยู่ไกล ๆ และมีคำบรรยายในพื้นที่ว่างทำให้ ภาพมีความสมดุลมากขึ้น

10.jpg

ตัวอย่างภาพที่มีส่วนประธาน ส่วนรอง และส่วนคำบรรยายที่มา: Dr. Seuss, 1985.

         3.3 การวางจุดเด่น (Dominance) คือองค์ประกอบใดประกอบหนึ่งของภาพที่เป็นจุดรวมของ ความสนใจในภาพนั้น ๆ เป็นส่วนที่สำคัญมีความโดดเด่น ชัดเจน และสะดุดตา เป็นแห่งแรกในการรับรู้ด้วย การมอง การวางตำแหน่งของจุดเด่นในภาพหนึ่ง ๆ จึงเป็นประเด็นที่ผุ้วาดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กต้อง พิจารณาให้รอบคอบ ตำแหน่งที่เด่นที่สุดในภาพจากการมองในกรอบสี่เหลี่ยม

11.jpg

จุดสนใจของตำแหน่งที่เด่นที่สุดในภาพ

         การจัดองค์ประกอบภาพอาจใชช้กฎสามส่วน (Rule of third) มาประกอบในการตัดสินใจ โดยให้ลากเส้นแบ่งพื้นที่ในหน้าหนังสือออกเป็นสามส่วนทั้งแนวตั้งและแนวนอน บริเวณที่ตัดกันของเส้นตรง คือบริเวณที่ควรวางจุดเด่นในหน้าหนังสือ เพราะหากวางชิดขอบเกินไปจะทำให้ภาพเสียความสมดุลหรือ วางตรงกลางจะทำให้ภาพดูสงบเรียบเกินไปไม่น่าสนใจ ตัวอย่างการวางจุดเด่นแบบกฎสามส่วน (Rule of third)

12.jpg

         3.4 การเน้น (Emphasis) เป็นการกระทำให้เกิดจุดเด่นและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาพ อาจใช้วิธีการเน้นได้หลายรูปแบบ เช่น รูปร่าง รูปทรง สี ขนาด พื้นผิว หรือน้ำหนัก ให้สะดุดตามากกว่าส่วนอื่น ๆ ซึ่งควรเน้นให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของภาพและต้องไม่ทำให้เกิดความสับสน การเน้นนี้อาจใช้วิธีการ สร้างความแตกต่างให้เห็นชัดเจนภายในภาพ เช่น น้ำหนักมากกับเบา คนอ้วนกับผอม หรือสูงกับเตี้ย ตัวอย่างการเน้นภาพด้วยขนาด

13.jpg

ภาพตัวอย่างการเน้นภาพด้วยขนาด: Collins, 2016.

         3.5 ความสมดุลของภาพ (Balance) คือ การจัดวางรูปทรงไม่ให้หนักไปด้านใดด้านหนึ่งจนเหลือพื้นที่ว่างอีกด้านหนึ่งมากเกินไป ความสมดุลนี้อาจเห็นได้ไม่เท่ากันแต่สัมผัสได้ด้วยอารมณ์ความรู้สึกของผู้ดูความสมดุลนี้เรียกอีกอย่างว่าดุลยภาพทั้งที่เป็นภาพและศิลปะในรูปแบบอื่นๆในทางศิลปะดุลยภาพนี้หมายถึง ความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของส่วนต่าง ๆ ในรูปทรงหนึ่งหรือในงานศิลปะชิ้นหนึตัวอย่างความสมดุลของภาพของภาพ หากมองด้วยกฎสามส่วนจะเห็นว่าภาพอยู่ในจุดขวาด้านบนแต่จะมีภาพที่จุดซ้ายด้านล่างขนาดที่เท่ากันทำให้เกิดความสมดุล ว่วนจุดซ้ายด้านบนและจุดขวาด้านล่างเป็นคำบรยาย

14.jpg

ภาพตัวอย่างความสมดุลของภาพของภาพที่มองด้วยกฎสามส่วน: ปรับปรุงจาก Dr. Seuss, 1988.

         3.6 สัดส่วน (Proportion) หมายถึงความสัมพันธ์กันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของศิลปะ เช่น ขนาด รูปทรง เนื้อที่ ความเขข้ม ความหนักเบา หรือสภาพความกลมกลืนระหว่างส่วนต่าง ๆ ของงานศิลปะ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งในงานกับส่วนรวมของงานนั้น ๆ และเมื่อเทียบเคียงกับวัตถุอื่นที่อยู่แวดล้อมจะมีความเหมาะสมกับความเป็นจริงตามธรรมชาติ การจัดองค์ประกอบภาพในหนังสือสำหรับเด็กนี้เป็นการนำเอา ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะใช้เล่าเรื่องมาวางลงในภาพเดียวกัน โดยจัดให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมแต่ละส่วนอย่างมี เหตุมีผลไม่มีสัดส่วนใดมากหรือน้อยเกินไป ตัวอย่างสัดส่วนของภาพที่สมดุลทั้งด้านซ้ายและดด้านขวา ลูก กระต่ายที่อยู่ด้านซ้ายตัวเล็กกว่าแต่มีต้นไม้ใหญ่ทำให้ดูสมดุล ภาพภูเขาและลำธารด้านหลังอยู่ตรงกลางภาพไม่ หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง

15.jpg

ภาพตัวอย่างสัดส่วนของภาพที่สมดุล: McBratney and Jeram, 2015.

         3.7 จังหวะ (Rhythm) หมายถึงการจัดวางส่วนต่างๆขององค์ประกอบภาพให้เป็นจังหวะซ้ำกัน โดยมีระยะห่างหรือช่องไฟอย่างเป็นระเบียบ มีความต่อเนื่องเชื่อมกันเป็นลูกโซ่ อาจจัดทำได้ 4 ลักษณะ คือ การจัดจังหวะแบบซ้ำกัน (Repetition rhythm) การจัดจังหวะต่อเนื่อง (Continuous rhythm) การจัด จังหวะแบบเพิ่มพัฒนา (Progressive rhythm) การจัดจังหวะแบบเลื่อนไหล (Flowing rhythm) จังหวะนี้จะมีความสำคัญกับภาพประกอบในหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยในแง่ที่จะช่วยให้เกิดความเป็นระบียบในงานแฃะ เข้าใจง่าย ช่วยสร้างความสนใจเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับภาพ และช่วยให้เกิดความกลมกลืนเป็นระเบียบ ภาพแสดงตัวอย่างการจัดจังหวะที่ใช้แบบซ้ำกันมาผสมกับแบบเลื่อนไหลทำให้ภาพเหมือนมีการเคลื่อนไหว

16.jpg

ภาพตัวอย่างการจัดวางจังหวะที่ใช้แบบซ้ำกันผสมกับแบบเลื่อนไหล: Dr. Seuss, 1991.

         3.8 ความกลมกลืน (Harmony) หมายถึง การนำเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของภาพมาวางลงใน ภาพเดียวกันอย่างมีความสัมพันธ์กันไม่มีสิ่งแปลกปลอมในภาพ ทำใหห้เกิดการประสานกันอย่างเหมาะสมลงตัวในผลงาน ดูแล้วไม่ขัดตา ตัวอย่างของความไม่กลมกลืน เช่น หากเราต้องการจะเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับตัวละครในบริบทแบบไทยมีบ้านมีต้นมะพร้าวซึ่งเป็นพืชในเขตร้อนแต่เราใช้ภาพเบื้องหลัง (Back ground) เป็น ภูเขาน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือ ทำให้เห็นว่ามันขัดกันมาก

         3.9 ความแตกต่าง (Contrast) หมายถึง การใช้เทคนิคจัดองค์ประกอบภาพด้วยการวางสิ่งที่ ต่างกันไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเด่นปรากฏชัดขึ้นในภาพนั้น ๆ และจะกลายเป็นจุดรวมของความสนใจ และยังช่วยลดความน่าเบื่อจากความกลมกลืนที่มีมากเกินไป เช่น คนสูงมากยืนอยู่กับคนที่เตี้ยมาก ภาพ ตัวอย่างความแตกต่างของภาพคนสูงกับคนเล็ก

17.jpg

ภาพตัวอย่างความแตกต่างของภาพคนสูงและคนเล็ก: Dr.Seuss, 1991.

         4. การระบายสีภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย

         หนังสือที่เลือกใช้วิธีการวาดภาพประกอบอาจจะมีการระบายสีภาพเพิ่มเติม การระบายสีภาพ (Colouring) หมายถึง การสงสัหรือระบายสีภาพที่ได้วาดขึ้นมาในแต่ละฉากเพื่อให้ได้ภาพทีมีความสมบูรณ์ มีสีสันที่ดึงดูดความสนใจของเด็กมากขึ้น การระบายสีภาพต้องมีพื้นฐานความเข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก และจิตวิทยาใช้สีเนื่องจากเด็กวัยนี้สนใจภาพที่มีสีสันที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ สีสันของภาพจะเพิ่มความสนใจ ของเด็กใหเมาสนใจในเนื้อหาของหนังสือมากขึ้น

             4.1 ลักษณะของสีที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย เด็กวัยทารก ถึง วัยเตาะแตะ ควรใช้แม่สีเป็นหลัก คือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีขาวและสีดำ เนื่องจากสายตาของเด็กยังจำแนกสีได้ไมม่ชัดเจน แต่องการภาพที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจนเล็กก่อนวัยเรียนหรือวัยอนุบาลควรเลือกใช้สีที่สดใส อันได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีเขียว และสีม่วง เนื่องจากเด็กในวัยนี้มีพัฒนาการที่ดีสามารถจำแนกสีได้ชัดเจน แต่ยังต้องการภาพที่มีสีที่ตัดกันเพื่อให้สามารถมองเห็นขอบภาพหรือจุดสิ้นสุดของแต่ภาพที่อาจทับซ้อนกันได้ชัดขึ้น ส่วนเด็กที่โตหรือเด็กปฐมวัยตอนปลาย ควรเลือกใช้สีที่สดใสแต่มีโทนสีที่อ่อนลงหรือสีที่เกิดจากแม่สี อันได้แก่ สีฟ้า สีคราม สีชมพู สีส้ม สีเขียวอ่อน เนื่องจากเด็กในวัยนี้มีความรู้สึกและอารมณ์อ่อนไหวมากขึ้นกว่าแต่ก่อนเกิดจากการผสมแม่สีนี้จะเข้าถึงความรู้สึกและอารมณ์ของเด็กได้มากกว่าแม่สีสี

             นักวาดภาพประกอบยังต้องคำนึงถึงคามกลมกลืนของสีและน้ำหนักของสี ซึ่งในแต่ละส่วนของภาพ หนึ่งภาพอาจมีความหนักเบาของสีที่ไม่เท่ากัน การผสมสีก็เป็นทักษะอีกอย่างหนึ่งที่ต้องมีเพราะจะทำให้ได้สีที่มีความแตกต่างออกไปจากเดิมได้สีใหม่ตรงตามที่ต้องการมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นนักวาดภาพยังต้องมีความรู้เรื่องจิตวิทยาของสีจะทำให้สามารถเลือกใช้สีบรรยายภาพได้ตรงตามความรู้สึกที่ต้องการจะสื่อถึงผู้อ่าน

             4.2 ชนิดของสี สีที่เหมาะกับการทำหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยมีหลายชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดจะ มีคุณสมบัติและเทคนิควิธีการใช้ที่แตกต่างกันไป ยิ่งไปกว่านั้นผลงานที่ผลิตออกมาจากสีที่ต่างกันจะมีลักษณะ พิเศษที่ต่างกันอีกด้วย ผู้วาดภาพประกอบควรเลือกใช้ชนิดของสีให้ตรงตามวัตถุประสงค์และเหมาะสมกับภาพที่ได้วาดไว้ รวมถึงคุ้มค่ากับราคาของสีเนื่องจากสีบางชนิดมีราคาแพงมากเกินความจำเป็น ตัวอย่างของสีที่เหมาะกับการผลิตหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นอาจใช้สีเหล่านี้ สีน้ำ (Watercolour) สีโปสเตอiN (Poster colour) สีอะครีลิค (Acrylic colour) สีชอล์ค (Pastel colour) ดินสอสี (Coloured pencils) สีเทียน (Oil pastel colour) สีน้ำมัน (Oil colour) และสีที่ได้จากธรรมชาติ (Natural colours)

                     4.2.1 สีน้ำ (Water colour) เป็นสีที่ต้องใช้น้ำเป็นส่วนผสมเพื่อทำการละลายให้เจือจาง เทคนิคในการระบายที่หลากหลายขึ้นอยู่กับการคิดค้นของผู้ใช้ การระบายสีน้ำต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่ดี พอสมควร ในการใช้สีน้ำจะไม่นิยมใช้สีขาวมาผสมเพื่อให้มีน้ำหนักอ่อนลงแจะใช้น้ำเพื่อเจือจาง และจะไม่นิยมใช้สีดำผสมให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นเพราะจะทำให้เกิดน้ำหนักของสีมืดเกินไปแต่จะใช้สีกลางหรือสีตรงข้าม ผสมแทน สีน้ำจะให้ภาพที่มีมีลักษณะใส บาง และสะอาดดูแล้วสบายตา สีน้ำเป็นที่นิยมใชช้กับการจัดการศึกษาแบบวอลดอร์ (Waldrof education) เนื่องจากคุณลักษณะของสีน้ำส่งเสริมปรัชญาของการศึกษา แบบนี้ที่ส่งเน้นเรื่องความรู้สึกและจินตนาการ เพราะเมื่อเด็กแตะสีน้ำลงบนกระดาษที่เปียกพอเหมาะ จะแผ่ขยายออกไปดุจดังสิ่งมีชีวิต นำเด็กสู่โลกแห่งจินตนาการเด็กจะมีความสุขกับกระบวนการเรียน เป็นการฝึกหัดการใช้จินตนาการ อย่างไรก็ตามในการผลิตหนังสือนั้นการใช้สีน้ำต้องมีความชำนาญสูง เพราะหากผิดพลาดแล้วจะแก้ไขยากเนื่องจากจะระบายทับกันซ้ำ ๆ หลายครั้งไม่ได้จะทำให้ภาพที่ออกมาไม่โปรร่งใสมีสีขุ่นทึบหรือ ที่เรียกว่า “สีเน่า”

                     4.2.2 สีโปสเตอร์ (Poster colour) เป็นสีที่ใช้น้ำเป้นตัวละลายเหมือนกับสีน้ำ มีลักษณะ เป็นสีที่ทึบแสง มีเนื้อสีข้นกว่าสีน้ำเนื่องจากเป็นสีชนิดสีฝุ่นที่ผสมกาวน้ำทำให้ระบายสีทับกันได้สมารถใช้ วาดภาพประกอบเรื่องได้ แต่จะให้ภาพที่ทึบกว่าสีน้ำ

                     4.2.3 สีอะครีลิค (Acrylic colour) เป็นสีที่ใช2น้ำเปCนตัวละลายและเจือจางเหมือนกับสีน้ำ และสีโปสเตอร์ แต่มีคุณสมบัติที่ต่างออกไปคือสามารถใช้ได้ทั้งทั้งแบบโปร่งแสงและทึบแสง เป็นสีที่ติดแน่นอนนานคงทนต่อต่อสภาพดินฟ้าอากศ การใช้กับพู่กันต้องล้างให้สอาดุกครั้งงเพราะเมื่อแห้งแล้วจะไม่สามารถอกได้ สีชนิดนี้มักใช้วาดภาพจิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์ หรือวิหาร จิตรกรจะใช้วาดภาพบนผ้าใบ (Canvas) สามารถเก็บภาพไว้ไดด้นานนับร้อยปีและยังสามารถใช้วาดลงบนเสื้อผ้าได้เพราะเมื่อแห้งแล้วจะซัก ไมม่ออก สีชนิดนี้จึงเหมาะกับการผลิตหนังสือผ้าสำหรับเด็กปฐมวัย     

                     4.2.4 สีชอล์ค (Pastel colour) เป็นสีฝุ่นผงละเอียดที่นำมาอัดกันเป็นแท่ง มีลักษณะทึบแสงมีเนื้อสีค่อนข้างหนา สามารถเขียนสีทับกันได้ โดยใช้ระบายลงบนกระดาษและใช้นิ้วมือหรือสำลีเกลี่ยน้ำหนักของสีตามที่ต้องการร จิตกรมักใช้วาดภาพเหมือน สีชนิดนี้หากใช้ผลิตหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยตต้องเคลือบภาพนั้นด้วยสเปรย์ ใส (Clear) เพื่อมิให้สีลอกติดมือเด็กเมื่อใช้หนังสือ

                     4.2.5 ดินสอสี (Coloured pencils) มีลักษณะคล้ายดินสอทั่วไปหรืออาจเรียกว่าสีไม้ก็ได้ มี ไส้เป็นสีต่าง ๆ หลายสี ปัจจุบันมีดินสอสีได้พัฒนาให้ใช้แทนสีน้ำได้เมื่อระบายเสร็จแล้วใช้พู่กันชุบน้ำลูบทับจะทำให้สีที่ระบายไว้กลายเป็นสีน้ำ เรียกว่าดินสอสีระบายน้ำก็ได้ (Water coloured pencils) หากระบายสี แล้วไม่ประสงค์จะใช้น้ำระบายทับก็จะได้ภาพที่เป็นสีไม้ธรรมดาทำให้สะดวกในการใช้งาน ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของผู้วาดภาพวว่าต้องการภาพเช่นไร

                    4.2.6 สีเทียน (Oil pastel colour) เป็นสีฝุ่นผงละเอียดผสมกับไขมันสัตว์หรือขี้ผึ้งแล้วนำมาอัดเป็นแท่ง สีเทียนนี้อาจเป็นสีเทียนธรรมดาหรือสีเทียนน้ำมันก็ได้ มีลักษณะทึบแสงสามารถระบายทับกันได้ สีเทียนธรรมดาจะแข็งกว่าสีเทียนน้ำมันเมื่อระบายแล้วจะไม่สามารถเกลี่ยสีไปในพื้นที่อื่นได้ ส่วนสีเทียน น้ำมันเนื้อสีจะนุ่มกว่าหลังจากระบายลงบนกระดาษแล้วสามารถใช้นิ้วมือหรือสำลีเกลี่ยเนื้อสีให้เข้ากันหรือ เกลี่ยน้ำหนักของสีภาพได้ สีเทียนน้ำมันจะให้ภาพที่มีสีสันเข้มลีสด ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ใช้กับน้ำได้ โดยใช้พู่กันชุบน้ำเกลี่ยเนื้อสีได้ตามต้องการเช่นเดียวกับสีไม้ระบายน้ำ ข้อพึงระวังหลังจากระบายภาพเสร็จแล้วหากนำแผ่นอื่นมาวางทับสีอาจเลอะเปื้อนแผ่นอื่นได้ ดังนั้นหลังจากระบายเสร็จหนึ่งภาพแล้วควรใช้กระดาษมาปิดไว้เพื่มิให้เปื้อนภาพอื่น หลังจากชิ้นงานเสร็จแล้วควรมีการเคลือบสีด้วยสเปรย์ใส (Clearspray) หรือ สติ๊กเกอร์ใสเพื่อไม่ให้สีลอกติดมือเด็กเมื่อใช้หนังสือ

                  4.2.7 สีน้ำมัน (Oil colour) เป็นสีที่ผลิตจากการผสมของสีฝุ่นกับน้ำมัน มีลักษณะทึบแสงเวลาระบายสีจะใช้น้ำมันสน (Turpentine) หรือใช้น้ำมันลินสีด (Linseed) เป็นตัวละลายหรือทำให้เจือจาง ปัจจุบันมีสีน้ำมันที่สามารถใช้น้ำเป็นตัวละลายได้ การระบายสีน้ำมันสามารถผสมสีให้มีโทนสีอ่อนลงได้โดยการ ผสมสีขาวลงไป มักใช้วาดลงบนผ้าใบ (Canvas) เป็นสีที่ใช้กันมาแต่โบราณมีความคงทนมกและสามารถกันน้ำได้ ภาพที่วาดด้วยสีน้ำมันสามารถเก็บไว้ได้นานนับร้อยปี เป็นสีที่เหมาะกับการวาดภาพที่ต้องใช้เวลานาน ๆ ในการวาด เนื่องจากมีคุณสมบัติที่แห้งช้ามาก และเป็นสีที่มีราคาค่อนข้างแพง อาจจะไม่เหมาะกับการผลิต หนังสือสำหรับเด็กแต่อาจเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ชื่นชอบสีน้ำมันโดยอาจวาดเป็นเรื่องราวลงบนพื้นผ้าใบแล้ว ถ่ายภาพทำเป็นเล่มหนังสือ

                 4.2.8 สีที่ได้จากธรรมชาติ (Natural colour) เป็นสีที่สามารถหาได้จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ดินเหนียว หิน แร่ธาตุ พืช และสัตว์ นำมาบดผสมน้ำใช้ระบาดภาพได้ เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและปลอดภัยจากสารเคมี แต่อาจจะให้สีสันที่ไม่เข้มนัก ตัวอย่างสีที่สามารถใช้ด้คือ ขมิ้นให้สีเหลือง ดอกอันชันและเมล็ดผักปลังให้สีม่วง กาแฟใหหเสีน้ำตาลเข้ม ดินเหนียวให้สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเหลือง

          4.3 การผสมสี (The colour composition) การผสมสี คือ การนำสีมากกว่าหนึ่งสีมาผสมกัน เพื่อให้เกิดความเข้มและความอ่อนแก่ของสี หรือเพื่อสร้างสีใหม่ขึ้นมา การผสมสีเริ่มจากการใช้แม่สี (Primary colour) ซึ่งเป็นขั้นที่1ประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน เมื่อนำสีเข้มที่ 1 มาผสมกันครั้งละ 2สีใน อัตราส่วนที่เทท่า ๆ กันจะทำให้เกิดเป้นสีใหม่ขึ้นมาเป็นสีขั้นที่ 2 (Secondary colour) ดังนี้ สีแดงผสมกับสี เหลืองจะได้สีส้ม สีเหลืองผสมกับสีน้ำเงินจะได้สีเขียว และสีน้ำเงินผสมกับแดงจะได้สีม่วง เมื่อนำสีขั้นที่ 2 นี้มาผสมกันอีกครั้งหนึ่งในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กันจะได้สีใหม่ขึ้นมาอีกเป็นสีขั้นที่ 3 (Tetiarycolour) ดังนี้ สีส้ม ผสมกับสีเหลืองจะได้สีเหลืองส้ม สีเหลืองผสมกับสีเขียวจะได้สีเหลืองเขียว สีเขียวผสมกับสีน้ำเงินจะได้สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงินผสมกับสีม่วงจะได้สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วงผสมกับสีแดงจะได้สีแดงม่วงเมื่อรวมทั้งหมดเรียกว่า วงจรของสี ภาพการแสดงวงจรของสี

18.jpg

ภาพการแสดงวงจรของสี: Kia. Online. 2015

         จะเห็นได้ว่าสีที่อยู่กันในวงจรสีจะกลมกลืนกันและสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรของสีจะเป็นสีที่ตัดกกัน ตัวอย่าง เช่น สีเหลืองกลมกลืนกับสีเหลืองเขียว และสีเหลืองเขียวกลมกลืนกับสีเขียว ฯลฯ เป้นต้น ส่วนสีตัดกันได้แก่ สีเหลืองอยู่ตรงข้ามกันกับสีม่วง และสีส้มอยู่ตรงกันข้ามกันกับสีน้ำเงิน ฯลฯ เป้นต้น

         4.4 จิตวิทยาของสี (Psychology of colours) การใช้สีในหนังสือสำหรับเด็กเป็นเรื่อง สำคัญมากที่จะต้องคำนึงเทียบเท่ากับการวาดภาพ หรือการเลือกใช้ภาพ เนื่องจากจะทำให้เด็กเกิดความ และกระตือรือร้นในการอ่านหนังสือเล่มนั้น ๆ หรือในทางกลับกันการใช้สีที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เด็กไม่สนใจ และเบื่อหน่ายหนังสือเล่มนั้นก็เป็นได้ ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มนั้นจะมีเนื้อหาสาระที่ดีและสนุกก็ตามการที่ผู้วาดภาพประกอบจะเลือกใช้สีใดในการระบายสีภาพที่วาดจำเป็นต้องมีความเข้าใจ ในความหมายของสีต่าง ๆ เพื่อให้ภาพที่วาดออกมาสามารถสื่อความหมายและความรู้สึกของภาพได้ตรงตาม ต้องการจะเล่าเรื่อง อีกทั้งยังทำให้ผู้อ่านได้มีความรู้สึกร่วมกับเรื่องราวได้มากขึ้น ตัวอย่างความหมายของสี

20.png

ตารางที่4.1 แสดง สีและความรู2สึกที่เกิดจากสี

         นอกจากความหมายของสีที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สีทั้งหมดนี้ยังสามารถจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มสีได้  2 กลุมด้วยกันคือ สีกลุ่มวรรณะร้อน คือ กลุ่มสีแดงและสีที่ค่อนออกมาทางสีแดงในวงจรของสี ลักษณะสีร้อนจะ สื่อความหมายในด้านกระฉับกระเฉง ร้อน รวดเร็ว และแสดงความกล้า ส่วนสีกลุ่มวรรณะเย็น ได้แก่ สีทีอยู่ใน กลุ่มสีเขียวและค่อนไปทางสีเขียว เป็นสีที่ให้ความรู้สึกเย็น สดชื่น สบาย และมีความสงบสุขร่มเย็น ผู้วาด ภาพประกอบสามารถใช้หลักจิตวิทยาของสีหรือความหมายของสีในการสื่อความหมายของภาพที่ตนวาดขึ้นม โดยภาพที่สร้างสรรค์ออกมาจะมีความถูกต้องสื่อความหมายได้ดีและชัดเจนเพียงไรขึ้นอยู่กับความเข้าใจในการใช้สีของผู้วาดภาพท่านนั้น

© 2023 by Little Rainbow. Proudly created with Wix.com

  • White Instagram Icon
  • White Yelp Icon
  • White Pinterest Icon
  • White Facebook Icon
bottom of page