top of page

แนวคิดการสอนเรื่องการดูแลรักษาหนังสือ 

         หนังสือเป็นของที่มีค่าสำหรับเด็กและทุกคน  ในสังคมไทยให้ความสำคัญกับหนังสือเป็นอย่างมาก เราได้รับการสั่งสอนกันมาตลอดว่าให้เคารพหนังสือว่าเป็นครูของเรา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าในสมัยก่อนหนังสือเป็นของหายากและมีราคาแพงมีคนไม่มากนักที่ได้ใช้หนังสือ แต่ปัจจุบันหนังสือเป็นสิ่งของธรรมดาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ หาได้ทั่วไปและมีราคาถูกกว่าแต่ก่อนมาก อย่างไรก็ตามการสอนให้เด็กรู้ว่าเราต้องดูแลและรักษาหนังสืออย่างดีที่สุดมิใช่เป็นเพียงแค่การเคารพหนังสือเยี่ยงครูหรืออาจารย์อย่างแต่ก่อน แต่เป็นการฝึกลักษณะนิสัยและระเบียบวินัยในชีวิตของเด็กอีกด้วย  การสอนให้เด็กปฐมวัยดูแลและรักษาหนังสือนั้น สามารถทำได้หลายแนวทางด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การผลิตหนังสือขึ้นมาเพื่อสอนเด็กโดยตรงเกี่ยวกับการใช้หนังสืออย่างถูกวิธีและผิดวิธี ในหนังสืออาจมีตัวอย่างของหน้าหนังสือที่เด็ก ๆ ได้ขีดเขียนลงไปด้วยสี วาดรูปเพิ่มลงไป บางหน้าอาจเปื้อนอาหารอย่างเช่นช็อกโกแล็ต หรืออาจมีบางส่วนที่เด็ก ๆ นำกาวและสติกเกอร์ไปติดไว้หรือบางหน้าอาจถูกฉีกออกไปทำให้ไม่สามารถอ่านได้ จากนั้นครูสามารถตั้งคำถามให้เด็กคิดเพื่อให้การเรียนรู้เกิดขึ้นบนความรู้สึกจริงทครูอาจต้องใช้ภาษาที่สามารถเข้าถึงความรู้สึกของเด็ก เป็นต้นว่า “เด็ก ๆ รู้ไหมว่าหนังสือจะรู้สึกอย่างไร?”  “หนังสือคงเศร้ามากเลย” และ “เราจะทำอย่างไรให้หนังสือเพื่อนเรากลับมามีความสุขอย่างเดิม” เป็นการตั้งคำถามแบบปลายเปิด และต้องการจินตนาการในการตอบ จากนั้นครูให้เด็กช่วยกันคิดถึงวิธีที่จะดูแลและรักษาหนังสือโดยสามารถระดมความคิดบนทีชาร์ต (T-chart) ที่เตรียมไว้ โดยแยกระหว่างสิ่งที่ถูกต้องหรือควรทำกับสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ควรทำในการใช้หนังสือดังตัวอย่างตอไปนี้ ภาพ T-chart สำหรับระดมความคิดของเด็กในการใช้หนังสือ 

25.png

ภาพ T-chart สำหรับระดมความคิดของเด็กในการใช้หนังสือ

ที่มา: ถ่ายเมื่อ 23 มกราคม 2561 ณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

           วิธีการสอนเด็กปฐมวัยให้ดูแลหนังสือแบบอื่น ๆ อาจมีอีกมาก ครูปฐมวัยควรคิดหาวิธีการสอนที่แปลก และเหมาะสมกับบริบทของตนเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของครูผู้นั้น ตัวอย่างเช่น จัดมุมหนังสือไว้โดยเฉพาะพร้อมกับสร้างบรรยากาศให้รู้สึกถึงความสงบและผ่อนคลายเมื่อเข้ามาที่มุมนี้ เด็กจะได้เรียนรู้เนื้อหาและซาบซึ้งกับเรื่องราวจากหนังสือที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารได้มากขึ้น ครูต้องเก็บปากกาหรือสีต่าง ๆ ที่เด็กสามารถขีดเขียนได้ให้ไกลจากมุมหนังสือนี้เพื่อปองกันการขีดเขียนลงในหนังสือ กฎระเบียบต่าง ๆ แบบง่ายที่เด็กสามารถทำได้ก็ควรนำมาสอนเด็ก เช่น ต้องลางมือทุกครั้งก่อนเข้ามาในมุมหนังสือ ห้ามนำอาหารของขบเคี้ยวและเครื่องดื่มเข้ามาในเขตสงบนี้เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและน้ำมันที่ติดมือมาซึ่งจะทำให้หนังสือเสียหายได้ ยิ่งไปกว่านั้นครูจำเป็นต้องสอนเด็กถึงวิธีการหยิบจับหนังสือและการเปิดหน้าหนังสืออย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการฉีกขาด เมื่อหนังสือเสียหายแล้วครูต้องบอกเด็ก ๆ ว่าครูรู้สึกเสียใจแต่เราจะซ่อมให้ดีขึ้น สุดทายครูและเด็กช่วยกันซ่อมหนังสือที่ชำรุดนั้นพร้อมกับสอนให้เด็กรู้จักใช้หนังสืออย่างเคารพ

การเล่านิทานกับเด็กปฐมวัย

26.png

หลักพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มา :https://sites.google.com/site/phathnakark    

           นิทานสำหรับเด็กมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสั่งสอนเด็กโดยผ่านการดำเนินเรื่องที่สนุกสนานซึ่งในการเล่านิทานให้เด็กฟังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเล่าด้วยน้ำเสียงที่มีความหลากหลาย เพราะในขณะที่เล่านิทาน ความรู้สึกในน้ำเสียงของพ่อแม่จะถูกถ่ายทอดไปสู่ตัวของเด็กด้วย หากเล่านิทานด้วยความรู้สึกตื่นเต้น เด็กก็จะรู้สึกตื่นเต้นตาม เราเรียกความรู้สึกนี้ว่า “ความรู้สึกร่วมกันระหว่างครอบครัว” จึงเปรียบเสมือนเป็นสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูก แม้การเล่านิทานเพียง 15-20 นาทีต่อเล่ม จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่กลับได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อลูกน้อยอย่างมากมาย (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2550) กล่าวคือ ในขณะที่เด็กฟังนิทานก็จะได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ พัฒนาทักษะด้านการฟัง การพูด พร้อมทั้งสร้างจินตนาการ และฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักจดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี

นิทานช่วยส่งเสริมทักษะภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

27.png

การเล่านิทานสำหรับเด็ก ที่มา : https://suphawadeesite.wordpress.com

           ในการส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การพูดกับเด็กด้วยภาษาง่าย ๆ หรือการมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านการทำกิจวัตรต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่วิธีที่ง่ายและสามารถเรียกความสนใจจากเด็กได้ดีที่สุดคือ “การอ่านนิทาน” ให้เด็กฟัง 

          จากการศึกษาในต่างประเทศ กลุ่มกุมารแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้คิดโครงการส่งเสริมการอ่านและนิสัยรักการอ่านในเด็ก โดยการจัดให้มีอาสาสมัครอ่านนิทานให้เด็กที่มาตรวจที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปีฟัง และจากโครงการดังกลาวพบว่า เด็กที่ฟังนิทานจะมีพัฒนาการทางคำศัพท์ และ การใช้ภาษาที่ดีขึ้น (รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์ 2556, 111) เพราะการอ่านหนังสือให้เด็กฟังนั้นจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ และช่วยกระตุ้นจินตนาการให้แก่เด็ก ยิ่งพ่อแม่คุยหรืออ่านหนังสือให้ลูกฟังมากเท่าไหร ก็จะยิ่งเป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กมากเท่านั้น

          สำหรับการเลือกอ่านนิทานให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้ และความสามารถ ตามช่วงวัยของเด็กแต่ละคนเป็นสำคัญด้วย เพราะเด็กจะรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและจากเสียงที่ได้ยิน โดยเด็กจะเริ่มรับรู้ความหมายในนิทานไปได้ทีละน้อยจนสามารถเชื่อมโยงกับภาพ และสิ่งที่ได้ยินให้เป็นเรื่องเดียวกันได้ ดังนั้นการเลือกนิทานที่จะนำมาเล่าให้แก่เด็กจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ จากบทความเรื่อง การส่งเสริมทักษะภาษาสำหรับเด็ก ของ รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์ กล่าวถึงพัฒนาการทางภาษาของเด็กแต่ละช่วงวัยไวดังนี้

เด็กอายุ 0 – 1 ปี

28.png

           เด็กวัยนี้จะมีความสนใจในระยะสั้นประมาณ 5-10 นาที นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยว ๆ ที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติกหนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้ เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย ในขณะอ่านนิทานให้เด็กฟังควรชี้ให้เด็กดูรูปภาพตาม และให้เด็กได้จับหรือเปิดหนังสือตามเนื้อเรื่องที่อ่านไปด้วย ก็จะเป็นการช่วยส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กในวัยนี้เพิ่มมากขึ้น 

เด็กช่วงอายุ 1 - 2 ปี

29.png

            เด็กในวัยนี้จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง และจะชอบในหนังสือที่ตนเองสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน ควรจะเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ เด็กในช่วงนี้จะมีประสาทสัมผัสทางหูที่ดีมาก หากใช้หนังสือที่มีเทคนิคพิเศษต่าง ๆ เช่น หนังสือที่มีผิวสัมผัสหลากหลาย หนังสือที่มีภาพซ่อนอยู่ หรือหนังสือที่กดและมีเสียงก็จะช่วยเพิ่มการเรียนรู้ให้เด็กได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเด็กในวัยนี้จะมีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 15-20 นาที ดังนั้นในขณะที่อ่านนิทานให้เด็กฟัง ควรพูดเชื่อมโยงถึงสิ่งที่อ่านกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเพิ่มเติมเข้าไปก็จะช่วยทำให้เด็กได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น 

เด็กอายุ  2 – 3 ปี

30.png

            เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดลอมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทานหรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสมควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 – 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่านของเด็กในอนาคต  

เด็กช่วงอายุ 3 - 4 ปี

31.png

           เด็กวัยนี้จะอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ เริ่มเข้าใจความแตกตางระหว่างความจริง กับเรื่องสมมติ เข้าใจในรูปแบบการอ่าน โดยอ่านจากซ้ายไปขวาและจากบนลงล่าง สามารถตอบคำถามจากนิทานได้ ดังนั้นนิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ภาพประกอบมีสีสดใส มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป มีขนาดใหญ่พอสมควร เพราะเด็กในวัยนี้สามารถเชื่อมโยงสัญลักษณ์ตัวพยัญชนะ กับเสียงสระได้แล้ว และหนังสือที่เป็นคำคล้องจองก็จะช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาของเด็กในวัยนี้เพิ่มยิ่งขึ้น (รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์ 2556, 111-112)

เด็กอายุ 4 – 6 ปี

32.png

         เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกตางระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสันสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟังพร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

          ดังนั้น หลักสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการมีปฏิสัมพันธ์สื่อสารร่วมกันกับเด็กตามพัฒนาการของแต่ละช่วงวัย (รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์ 2556, 112) หรือผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา เช่น การอ่านนิทาน การพูด การฟัง ก็จะเป็นการช่วยเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา การเรียน อารมณ์ และสังคมของเด็ก ช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพต่อไปเด็กจะได้รับประโยชน์Jอะไรจากการฟังนิทาน

          1. การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย การเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเล่านิทาน จะช่วยให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเป็นการพัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น การเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติเรื่อง ลูกหมูสามตัว หนูนอยหมวกแดง นอกจากนี้ ขณะที่เล่านิทาน ด้วยการใช้หนังสือภาพประกอบ การที่พ่อแม่ใช้นิ้วชี้ไปที่ภาพหรือตัวหนังสือในนิทานทำให้เด็กได้มองตาม เป็นการฝึกฝนการใช้ประสาทสัมผัสทางด้านสายตาของเด็กได้อีกด้วย 

          2. การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ ในขณะที่เด็กฟังนิทานเด็กจะมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทำให้เด็กมีความสงบ สุขุม และเยือกเย็น ทำให้มีสมาธิหรือขยายช่วงความสนใจได้ยาวนานขึ้น จากความตั้งใจในกิจกรรมการเล่านิทาน ทำให้เกิดการคิดจินตนาการ มีความกล้าแสดงออก ส่งผลต่อการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ 

          3. การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม รูปแบบการเล่านิทานที่เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กและเด็กกับเด็ก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น เช่น การเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติที่ครูให้เด็กได้แสดงบทบาทสมมติเป็นกลุ่ม การเล่านิทาน ประกอบการเชิดหุ่น หรือการเล่านิทานประกอบการแสดงท่าทางประกอบ เทคนิคการเล่านิทานดังกล่าวส่งผลต่อการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุม ซึ่งลักษณะของกิจกรรมแบบกลุ่มนำไปสู่การพัฒนาทางดานสังคม นอกจากนี้สาระเนื้อหาในนิทานบางเรื่องยังส่งเสริมคุณธรรมทางสังคม เช่น การส่งเสริมความมีระเบียบวินัยจากการเล่านิทานเรื่อง ลูกหมีมีวินัย เป็นต้น

          4. การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา นิทานช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางดานสติปัญญาของเด็กได้อย่างชัดเจน เช่น การฟังนิทานจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางด้านภาษา การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน การจดจำคำศัพท์ที่มีในนิทานเป็นการขยายประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางมากขึ้น

นิทานช่วยส่งเสริมกระบวนการคิด

33.png

         จากการวิจัยเรื่องสมองทำให้นักวิจัยเชื่อมั่นว่า การเล่านิทานจะช่วยให้เด็กพัฒนากระบวนการคิด การเชื่อมโยงเรื่องราว และการจัดระบบเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มกระบวนการทำงานของสมองแก่เด็ก (ใบตอง 2554) การอ่านหนังสือให้เด็กฟังจึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กมาก ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกเป็นคนชอบอ่าน ชอบเขียน และเรียนเก่ง ก็ควรเริ่มต้นด้วยการอ่านนิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในการอ่านหนังสือให้แก่ลูกน้อย นอกจากนั้นแล้วนิทานยังมีประโยชน์ต่อลูกน้อยของเราอีกมากมาย จากบทความของ   กิ่งกาญจน์ ทวีศักดิ์ เรื่อง ประโยชน์ของนิทาน สามารถสรุปได้ ดังนี้ 

          1) นิทานช่วยปลูกฝังให้เด็กเป็นคนช่างคิด ช่างถามและช่างสังเกต มีความมั่นใจ ฉลาด กล้าแสดงความคิดเห็น คือ มีความฉลาดทั้งทางปัญญา (IQ) และฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ด้วย

          2) นิทานทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้เร็วขึ้น เพราะการเล่านิทานเปรียบเสมือนเป็นการสอนภาษาไปในตัว เมื่อเด็กได้ยินได้ฟังรูปประโยค หรือการใช้ภาษา ก็จะทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีตอการเรียนภาษามากขึ้น 

          3) นิทานทำให้เด็กจับประเด็นและวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เพราะการเล่านิทานซ้ำ ๆ จนเด็กจำได้ทั้งเรื่องนั้น จะทำให้เด็กมองเห็นภาพรวมของเรื่องและจับประเด็นสำคัญจากเรื่องได้ง่ายขึ้น 

          4) นิทานช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ ในขณะที่พ่อแม่เล่านิทานนั้น น้ำเสียงที่ใช้เล่าเรื่องจะกระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการเป็นภาพ ดังนั้น การเล่านิทานหลาย ๆ เรื่องจึงเป็นการสร้างจินตนาการใหม่ๆ ให้กับเด็กไป พร้อมกันด้วย 

          5) นิทานช่วยสร้างสมาธิให้แก่เด็ก เพราะช่วงเวลาในการเล่านิทาน เด็กจะตั้งใจฟังนิทานอย่างใจจดใจจ่อ ยิ่งเมื่อเล่านิทานที่มีความเหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กด้วยแล้ว เด็กก็จะเข้าใจเรื่องในนิทานได้ง่ายขึ้น ถือเป็นการสร้างสมาธิให้กับเด็กอีกวิธีหนึ่ง (กิ่งกาญจน์ ทวีสวัสดิ์ 2554) 

34.png

          ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า “นิทาน” ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยสร้างความสนุกสนานและความสุขให้แก่เด็ก เท่านั้น แต่ยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กอีกด้วย นิทานจึงไม่ใช่เรื่องไร้สาระที่ใช้หลอกเด็กไปวัน ๆ แต่กลับมีประโยชน์มากมายมหาศาล

นิทานช่วยส่งเสริมจินตนาการ

35.png

         เด็กเป็นวัยที่มากด้วยโลกของจินตนาการอันกวางไกล ผู้ใหญ่มักจะเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ตื่นเต้น เรื่องสนุกสนาน เรื่องเศร้าโศกเสียใจ เรื่องราวสะเทือนขวัญ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตหรือ  สิ่งแวดลอม เราจึงควรทำความเข้าใจกับการจินตนาการของเด็ก เพื่อจะสามารถเล่าหรือแต่งนิทานเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ อย่างสอดคล้องกับจินตนาการและความต้องการของเด็ก

          การจินตนาการของเด็กพอจะแบ่งออกได้ดังนี้  

          1) จินตนาการแบบอิสระ คือจินตนาการที่เด็กไม่มีประสบการณ์รองรับเลย เด็กจะใช้ความคิดคำนึงเฉพาะตัวเป็นหลักในการตัดสิน และส่งผลต่ออารมณของตนเอง  

          2) จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์ เป็นจินตนาการของเด็กที่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เห็นหรือได้ฟังกับของที่เคยเห็นเคยฟังมาแล้ว แบ่งได้ 3 ขั้นตอนคือ  

          ขั้นที่1 คือเมื่อเด็กได้ฟังสิ่งใด หรือเห็นสิ่งใดล้วนนึกถึงสิ่งที่เคยเห็นมาก่อนหรือจินตนาการสิ่งที่เคยเห็นมาก่อน

          ขั้นที่ 2 นอกจากเด็กจะเชื่อมโยงสิ่งที่ตนเห็นหรือได้ฟังกับอีกสิ่งหนึ่งแล้วเด็กยังจินตนาการไปถึงอารมณ์หรือความมีชีวิตชีวาของสิ่งนั้น ๆ ด้วย  

          ขั้นที่ 3 เป็นการจินตนาการไปถึงสิ่งเหนือจริง ของวิเศษ สิ่งมหัศจรรย์ จินตนาการขั้นนี้เป็นขั้นที่เด็ก ๆ ใฝ่ฝันอยากจะมีกันทุกคน จะสังเกตได้ว่า ถ้าเราบอกว่า "มีกบอยู่ตัวหนึ่ง" เด็ก ๆ ก็จะฟังเฉย ๆ แต่ถ้าบอกว่า "มีกบวิเศษอยู่ตัวหนึ่งสามารถพ่นไฟได้ด้วย” เด็ก ๆ ก็จะทำตาโตทีเดียว 

นิทานกับความต้องการของเด็ก 

          ในเรื่องลักษณะทางจิตวิทยาเด็ก สาเหตุที่เด็ก ๆ ชอบฟังนิทานนั้น ไม่ใชเพราะนิทานมีโลกจินตนาการเท่านั้น แต่นิทานหลายเรื่องมีการสนองความต้องการของเด็ก ๆ แฝงอยู่ด้วย เด็ก ๆ มีความต้องการมากมายพอสรุปได้ดังนี้คือ

          • ต้องการความรัก

          • ต้องการให้คนอื่นสนใจ

          • ต้องการให้ความรักแก่คนอื่น

          • ต้องการเล่น

          • ต้องการกิน

          • ต้องการสิ่งวิเศษมหัศจรรย์

          • ต้องการสิ่งสวยงาม

          • ต้องการสิ่งลึกลับ

          • ต้องการความขบขัน  

          จากความต้องการดังกล่าว ทำให้เราสามารถเลือกนิทานที่เหมาะสมและควรเล่าให้เด็กฟังได้ นิทานที่เหมาะสมและควรเล่าให้เด็กฟังนั้น ควรเป็นนิทานที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางเนื้อหาได้อรรถรส รูปแบบการใช้ถ้อยคำ สำนวนภาษา ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณภาพ ยกระดับสติปัญญาและจิตใจ

การเลือกนิทาน

          ผู้เล่าหรืออ่านนิทานให้เด็กฟัง จะต้องเลือกนิทานให้เป็น เพราะนิทานที่มีอยู่ทั้งหมด ไม่ใช่ว่าเด็กจะชอบทุกเรื่อง การเลือกนิทานควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ดังตอไปนี้                

          1. นิทานเรื่องนั้นสนองความต้องการของเด็กได้มากน้อยเพียงไร               

          2. เรื่องเล่าควรจะเลือกให้เหมาะกับวัยต่าง ๆ ของเด็ก               

          3. เวลาที่ใช้ในการเล่าควรจะเหมาะสมกับช่วงระยะเวลาความสนใจและสมาธิในการฟังของเด็กวัยต่าง ๆ               

          4. เนื้อหาจะต้องมีสาระค่านิยม ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม                

          5. มีเนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตาม กระตุ้นจินตนาการของเด็ก                

          6. เป็นวรรณกรรมที่ดีทั้งโครงเรื่อง ลักษณะที่เด่นของตัวละคร การใช้ภาษาที่สร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ไม่เคยตาย (Timelessness)                

          7. ไม่ควรสร้างความขบขันบนความเจ็บปวดของคนอื่น และไม่ใช้ภาษาหรือปฏิบัติต่อเด็กในเชิงตำหนิติเตียนหรือดูหมิ่น                

          8. กล่าวถึงอารมณ์มนุษย์อย่างระมัดระวัง เสนอแนะวิธีการที่สร้างสรรค์แก่เด็กในการเผชิญกับความยากลำบากต่าง ๆ

36.png

การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน

          ผู้เล่านิทานเมื่อเลือกเรื่องของนิทานให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังและพอใจกับเนื้อเรื่องแล้ว ผู้เล่าจะต้องนำนิทานที่จะเล่ามาจัดเตรียมให้พร้อมก่อนจะดำเนินการเล่าดังนี้  

          1. ผู้เล่าจะต้องอ่านทบทวนเรื่องราวที่ผู้เล่าเลือกมาให้เกิดความคุ้นเคย เข้าใจ และรู้จักเรื่องที่เลือกมาได้เป็นอย่างดี เพื่อจะได้เกิดความราบรื่นตลอดขณะดำเนินการเล่า  

          2. ขั้นตอนการเล่า ผู้เล่าจะต้องพิจารณาในการนำเสนอการขึ้นต้นเรื่อง การเล่าเรื่องต่อเนื่องจนถึงกลางเรื่อง และการจบเรื่องให้ชัดเจน และน่าสนใจตามลักษณะเฉพาะของผู้เล่า  

          3. สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่า ผู้เล่าจะต้องเตรียมและทดลองใช้ให้เกิดความชำนาญ และจัดระบบการใช้ตามลำดับก่อนหลัง  

          4. กิจกรรมประกอบการเล่านิทาน ผู้เล่าจะต้องเตรียมให้พร้อมและจะต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น การร้องเพลงซ้ำ ๆ และง่าย คำพูดซ้ำ ๆ และง่าย การร้องขอให้ผู้ฟังมาช่วยร่วมแสดงหรือทำกิจกรรมด้วย ขณะดำเนินการเล่า  

          5. สถานที่เล่า ผู้เล่าจต้องพิจารณาตามความเหมาะสมให้พอดีกับกลุ่มผู้ฟังเพราะผู้เล่าจะต้องจัดเตรียมสื่อให้พอเหมาะกับการมองเห็น และการฟังของผู้เล่า นอกจากนี้ผู้เล่านิทานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านนิทานซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยออกเสียงดังๆและจะต้องอ่านจนขึ้นใจในเรื่องราว ถ้อยคำ และการดำเนินเรื่อง ถ้ากลัวติดขัดขณะทำการเล่า ผู้เล่าจะต้องบันทึกย่อเพื่อกันลืม

วิธีการเล่านิทาน

37.png

การเล่านิทานแบ่งได้ 5 วิธีได้แก่                

                    1. เล่าปากเปล่า                

                    2. เล่าโดยใช้หนังสือประกอบ                 

                    3. เล่าโดยใช้ภาพประกอบ                 

                    4. เล่าโดยใช้สื่อใกล้ตัว                  

                    5. เล่าโดยใช้ศิลปะเข้าช่วย

     1. เล่าปากเปล่า ผู้เล่าต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เพราะจุดสนใจของเด็กที่กำลังฟังนิทานจะอยู่ที่ผู้เล่าเท่านั้น วิธีเตรียมตัวในการเล่านิทานมีดังนี้                          

        1.1 เตรียมตัวด้านเนื้อหาของนิทาน

  • อ่านนิทานที่จะเล่าและทำความเข้าใจกับนิทานเสียก่อน

  • จับประเด็นนิทานให้ได้ว่า นิทานที่จะเล่าให้อะไรแก่เด็กที่ฟัง

  • แบ่งขั้นตอนของนิทานให้ดี

  • การนำเสนอขั้นตอนของนิทานในขณะที่เล่า ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่อ่าน เสมอไป

  • เพิ่มหรือลดตัวละครเพื่อความเหมาะสมในการเล่า ที่สำคัญผู้เล่าต้องสามารถปรับนิทานให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็กได้ด้วย เพราะถ้าเห็นว่าเด็กกำลังสนุกสนานก็เพิ่มเนื้อหาเข้าไปได้

        1.2 น้ำเสียงที่จะเล่า ผู้เล่าต้องมีน้ำเสียงที่น่าฟัง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงที่ไพเราะ และที่สำคัญที่สุด คือการเว้นจังหวะ การเน้นเสียงให้ดูน่าสนใจ ไม่ควรให้น้ำเสียงราบเรียบมากเกินไป เสียงเบาเสียงหนัก พูดเร็วพูดช้า ก็เป็นการบ่งบอกอารมณ์ของนิทานได้เช่นกัน           

        1.3 บุคลิกของผู้เล่านิทานต่อหน้าเด็กจำนวนมาก

        ต้องมีบุคลิกที่นาสนใจสำหรับเด็ก คือ

  • ไม่นิ่งจนเกินไป

  • ไม่หลุกหลิกจนเกินไป

  • ต้องมีการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมกับเนื้อหาของนิทาน

  • มีการแสดงท่าทางที่เหมาะสมกับเนื้อหาของนิทานอย่างพอเหมาะพอเจาะ

  • มีท่าที่ผ่อนคลายและดูเป็นกันเองกับเด็ก ๆ 

        1.4 เสื้อผ้าที่สวมใส ต้องเป็นเสื้อผาที่มั่นใจในการเคลื่อนไหว

        1.5 บรรยากาศในการฟังนิทาน ต้องไม่วุ่นวายจนเกินไป อยู่ในสถานที่ที่สามารถสร้างสมาธิสำหรับคนฟังและคนเล่าได้เป็นอย่างดี 

     2. เล่าโดยใช้หนังสือประกอบการเล่า การใช้หนังสือประกอบการเล่านี้ หมายถึงการใช้หนังสือที่มีภาพประกอบ ผู้ที่จะใช้หนังสือภาพต้องมีการเตรียมตัวดังนี้                            

         2.1 อ่านนิทานให้ขึ้นใจ เวลาเล่าจะได้เปิดหนังสือภาพให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า                                                        

         2.2 ศึกษาความหมายของสีที่ใช้ประกอบภาพ เพราะหนังสือสำหรับเด็กมักจะใช้สีเป็น สื่ออารมณ์ของเรื่องด้วย                           

         2.3 ศึกษาภาพประกอบที่เป็นปกหน้าปกหลัง เพราะบางเรื่องตอนเริ่มเรื่องอยู่ที่หน้าปก และตอนจบอยู่ที่ปกหลังก็มี

         2.4 การถือหนังสือ ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพประกอบได้อย่าง ทั่วถึง ถ้าผู้ฟังนั่งเป็นรูปครึ่งวงกลม ต้องมีการยกภาพให้มองเห็นทั่วทั้งหมด      

      3. เล่าโดยใช้ภาพประกอบ  ภาพประกอบที่ใช้ในการเล่านิทานนี้ ไม่ใช่ภาพประกอบจากหนังสือนิทาน เราอาจเปิดภาพจากหนังสือให้เด็กดูพร้อมกับเล่าหรืออ่านก็ได้

      4. เล่าโดยใช้สื่อใกล้ตัวหรืออุปกรณ์ประกอบการเล่า                        

         4.1 การเล่าโดยใช้สื่อใกล้ตัว สื่อใกล้ตัวในที่นี้หมายถึง สื่อหรืออุปกรณ์ประกอบการ เล่านิทาน   

         4.2 การเล่านิทานโดยใช้อุปกรณ์ประกอบ ผู้เล่านิทานสามารถนำเอาวัสดุมา สร้างสรรค์ สร้างสื่อหรือหรือผู้เล่าจัดหาสื่อสำเร็จมาประกอบการเล่า เกิดเป็นนิทานเล่าประกอบสื่อ การเล่านิทานโดยมีอุปกรณ์ประกอบจะมีทั้งน้ำเสียงของผู้เล่า ลีลา ท่าทางของผู้เล่า และสื่อประกอบการเล่า สื่อที่ใช้ประกอบการเล่านิทานมีหลากหลาย   

เทคนิคการเล่านิทาน

38.png

        การเล่านิทานถือเป็นสื่ออย่างหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิคการเล่านิทาน อาจทำได้ดังนี้

          1. ควรทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องนิทานที่จะเล่าเสียก่อนโดยจินตนาการออกมาเป็นภาพอ่านเรื่องช้าๆ เพื่อจับใจความ

          2. ควรเลือกคำที่เป็นคำง่าย ๆ ที่เด็กฟังหรือนึกออก เป็นภาพในจินตนาการได้

          3. เมื่อในเนื้อเรื่องมีตัวละครคุยกันให้ใช้บทสนทนา เพราะทำให้เด็กตื่นเต้นกว่า

          4. เริ่มตนเรื่องให้ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจ พยายามหลีกเลี่ยงการบรรยายและการอธิบายที่ไม่จำเป็น

          5. การเล่าเรื่องควรใช้เสียงแบบสนทนากัน คือ ช้า ชัดเจน มีหนักเบา แต่ไม่ควรมี เออ อา ทีนี้

          6. ขณะที่เล่านิทานควรจับเวลาให้ดี เว้นจังหวะตามอารมณ์ของเรื่อง เช่น ถ้าเนื้อเรื่องมีสิ่งเร้าใจก็พูดให้เร็วขึ้น ทำท่าจริงจัง

          7. นิทานที่นำมาเล่าให้ยาวพอ ๆ กับระยะความสนใจของเด็กคือ ประมาณ 15–25 นาที สำหรับเด็ก ประถมศึกษา หรือเป็นคำก็จะประมาณ 1,000 คำ

          8. เวลาเล่าต้องพยายามเป็นกันเองให้มากที่สุด ให้ความรักความสนิทสนมกับเด็กอย่างจริงจัง

          9. เวลาเล่าควรมีรูปภาพ ประกอบ อาจเป็นหนังสือภาพ หุ่นสื่อการสอนอื่น ๆ จะช่วยให้เด็กสนใจยิ่งขึ้น

          10. เวลาเล่าอย่าย่อเรื่อง่ให้สั้นมากจนเกินไปจนขาดความน่าสนใจไป และจะทำให้เด็กไม่รู้เรื่อง

          11. จัดบรรยากาศของห้องให้เหมาะ เช่น อาจนั่งเล่ากับพื้น หรือเชิดหุ่นประกอบการเล่าหรืออาจจะไปเล่าใต้ต้นไม้นอกห้องเรียนก็ได้

          12. อย่าแสดงท่าทางประกอบการเล่ามากเกินไปจะทำให้นิทานหมดสนุกพยายามเล่าให้เป็นไปตาม ธรรมชาติง่ายๆ และมีชีวิตชีวา

          13. ขณะที่เล่าอาจให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเล่านิทานด้วยก็ได้ เช่น แสดงท่าตามเนื้อเรื่องแต่ไม่ควรจะให้บ่อยนัก

          14. ขณะที่เล่านิทานสายตาของครูจะต้องมองกวาดดูนักเรียนได้ทุกคน อาจจะนั่งเป็นครึ่งวงกลมหรือนั่งกับพื้นก็ได้

          15. ขณะที่กำลังเล่านิทาน ถ้าหากมีเด็กพูด หรือถามขัดจังหวะ ครูควรบอกให้รอจนกว่าจะจบเรื่อง

          16. หลังจากการเล่านิทาน ควรเปิดโอกาสให้เด็กถามและวิพากษ์วิจารณ์ แต่ไม่ควรบังคับเด็กให้พูด ให้ถาม เพราะจะทำให้เด็กเสียความเพลิดเพลิน

 

          17. หลังจากการเล่านิทานแล้วอาจจะให้เด็กได้แข่งขันกันตั้งชื่อเรื่องก็ได้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้ติดตามและเพื่อความเข้าใจในเรื่องที่ครูได้เล่ามาแล้ว

          18. ถ้านิทานเรื่องยาวครูอาจจะเล่าเป็นตอนๆ ก็ได้ เพื่อเป็นการเร้าให้เด็กอยากมาโรงเรียนไม่ขาดเรียนเพื่อมาฟังนิทานต่อจนจบเรื่อง

39.png

วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก

          เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่เล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้

          1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของ การเล่าช้า ๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ

  • เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้น จังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่น ๆ ที่เป็น การขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก

  • การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อย ๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น

  • อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเกาอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก

  • ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น

  • ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น

40.png

          2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดลอมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช วัสดุเหลือใช้ เช่น กล่อง กระดาษ กิ่งไม้ ภาพ เช่น ภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ หน้ากากทำเป็นรูป ละคร นิ้วมือ ประกอบการเล่าเรื่อง เป็นต้น

41.png

© 2023 by Little Rainbow. Proudly created with Wix.com

  • White Instagram Icon
  • White Yelp Icon
  • White Pinterest Icon
  • White Facebook Icon
bottom of page