top of page

หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย

         การใช้หนังสือนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีเนื้อหาเกี่ยวขNองกับแนวคิดพลเมืองตื่นตัว (Active citizen) เพื่อสร้างพลเมืองตื่นตัวระดับปฐมวัยมีความเป็นไปได้ในสังคมและวัฒนธรรมไทย เนื่องจากหนังสือนิทานสามารถส่งสารบางอย่างไปสู่เด็ก เช่น ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารทางด้านกฎ กติกา ระเบียบวินัยต่าง ๆ ของสังคม ให้ความรู้และวัฒนธรรมที่ดีที่ต้องการธำรงไว้ในสังคม การสอนเรื่องวัฒนธรรมความเป็นประชาธิปไตยเป็นต้นว่าช่วยให้เด็กรู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม ช่วยให้เด็กกล้าแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน รู้บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติต่อวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคม หนังสือสำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัยของการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมประสบการณ์ ในการดำรงชีวิต เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของประเทศ เป็นผู้ที่เคารพกติกา ในการอยู่ร่วมกัน มีมารยาทที่ดี และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์และเรื่องราวต่างจากหนังสือ มาเป็นแนวทางในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นมากนัก และยังสามารถพัฒนาความคิดต่อยอดจากการอ่านสู่การแสดงออกถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (อารีย์ ศรีอำนวย, 2561: 20)

         การอ่านหนังสือนิทานจึงมีความจำเป็นอย่างมากต่อการสร้างพลเมืองตื่นตัวตั้งแต่ปฐมวัย การส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นหนึ่งในกลไกที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นคนเก่ง คนดีรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญนำไปสู่การพัฒนาประเทศไทย จำเป็นต่องมีทักษะที่สำคัญ 7 คุณสมบัติ คือ 1. เป็นพลเมืองที่ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ 2. รู้จักคิดวิเคราะห์ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ 3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. มีภาวะผู้นำ มีอุดมการณ์ 5. รักธรรมชาติรักแผ่นดิน 6. มีทักษะวิชาชีพ และ 7. มีความคิดสร้างสรรค์ต่อยอด คิดนอกกรอบ หากเด็กได้เรียนรู้ในแบบแอ็กทีฟเลิร์นนิ่งเชื่อมโยงกับความหมายชีวิตที่สนใจก็สามารถเป็นเครื่องมือช่วยสร้าง Active Citizen ได้ คุณลักษณะความตื่นตัวที่ว่านี้การจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากภายในจิตใจ ไม่ได้ถูกบังคับจากรัฐ โรงเรียน แต่เกิดจากความคิดได้เองอยากให้ตัวเองมีประโยชน์ต่อเพื่อนบ้านและสังคม เด็กต้องได้เห็นตัวอย่างที่ดี ทำแล้วสนุก เวลาจะทำอะไรมองเห็นโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างคนเยอรมันสามารถใช้โอกาสนี้พัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นด้วย ที่ประเทศเยอรมนีมีห้องสมุดเป็นจำนวนมาก การที่เด็กเข้าถึงหนังสือช่วยเพิ่มกระบวนการความคิด โรงเรียนปลูกฝังตั้งแต่การรับผิดชอบตัวเองและผู้อื่น จะมีหัวหน้าเด็กเวียนกันเป็นหัวหน้า สร้างบรรยากาศของการเป็นทีมเวิร์ก (มัลลิกา, 2560).

© 2023 by Little Rainbow. Proudly created with Wix.com

  • White Instagram Icon
  • White Yelp Icon
  • White Pinterest Icon
  • White Facebook Icon
bottom of page